ผลของปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ของหวายกินหน่อต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของคะน้าและข้าวโพดหวาน

Main Article Content

ปฐมรัตน์ หัศกรรจ์
เยาวพล ชุมพล
อรรถศาสตร์ วิเศียรศาสตร์
วิบูล เป็นสุข

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมบัติบางประการของปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ของหวายกินหน่อและเพื่อศึกษาผลของปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ของหวายกินหน่อ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของคะน้าและข้าวโพดหวานโดยทำการศึกษาผลของปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ของหวายกินหน่อต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของคะน้าและข้าวโพดหวาน ทำการทดลอง ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาท้องถิ่นบ้านตาด มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี แบ่งงานทดลองออกเป็น 2 งานทดลอง งานทดลองที่ 1 ใช้คะน้าเป็นพืชทดลอง งานทดลองที่ 2 ใช้ข้าวโพดหวานเป็นพืชทดลอง วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design มี 3 ตำรับการทดลอง คือ ตำรับการทดลองที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมี ตำรับการทดลองที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีลดลง 25 เปอร์เซ็นต์ และใส่ปุ๋ยหมักอัตรา 1,000 กิโลกรัม/ไร่ ตำรับการทดลองที่ 3 ใส่ปุ๋ยเคมีลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ และใส่ปุ๋ยหมักอัตรา 1,500 กิโลกรัม/ไร่ ทั้ง 2 งานทดลองทำ 4 ซ้ำ ปลูกในกระถางและปลูกอยู่ในโรงเรือนปลูกพืชแบบกางมุ้ง หลังจากการวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีของปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ของหวายกินหน่อ คือมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ 7.5 ค่าการนำไฟฟ้า เท่ากับ 5.56 เดซิซีเมนต่อเมตร มีอินทรียวัตถุ เท่ากับ 42 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณอินทรีย์คาร์บอน เท่ากับ 24.60 เปอร์เซ็นต์ อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ration) เท่ากับ 36.55 ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด เท่ากับ 0.67 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมด และโพแทสเซียมทั้งหมด เท่ากับ 0.85 และ 1.86 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ผลของปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ของหวายกินหน่อต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของคะน้า พบว่า การใช้ปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ของหวายกินหน่อร่วมกับปุ๋ยเคมีทำให้ความสูงและผลผลิตของคะน้าสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การใส่ปุ๋ยเคมีลดลง 25 เปอร์เซ็นต์ แล้วเติมปุ๋ยหมัก 1,000 กิโลกรัม/ไร่ และการใส่ปุ๋ยเคมีลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ แล้วเติมปุ๋ยหมัก 1,500 กิโลกรัม/ไร่ ให้ผลไม่แตกต่างกัน สำหรับงานทดลองในข้าวโพด พบว่า ทุกตำรับการทดลองไม่ได้ทำให้ความสูงของข้าวโพดแตกต่างกันในช่วงแรก ๆ แต่เมื่อข้าวโพดอายุ 60 และ 75 วันหลังปลูก การใส่ปุ๋ยเคมีในอัตราลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับการใส่ปุ๋ยหมัก 1,500 กิโลกรัม/ไร่ ทำให้ความสูงของต้นข้าวโพดสูงที่สุด ในขณะที่ทุกตำรับการทดลองไม่มีผลต่อการแสดงออกของลักษณะ ความยาวฝัก ความกว้างฝัก น้ำหนักฝัก จำนวนแถวต่อฝัก และความหวาน แต่ตำรับการใส่ปุ๋ยเคมีลดลง 25 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับใส่ปุ๋ยหมักอัตรา 1,000 กิโลกรัม/ไร่ และตำรับการใส่ปุ๋ยเคมีในอัตราลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับใส่ปุ๋ยหมักในอัตรา 1,500 กิโลกรัม/ไร่ ทำให้จำนวนเมล็ดต่อฝักและน้ำหนักเมล็ดต่อฝัก สูงกว่าการใส่ปุ๋ยเคมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่ตำรับที่ 2 และ 3 ให้ผลไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. (2558). รายงานผลงานวิจัยและพัฒนาการผลิตหวายในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2563, จาก https://www.doa.go.th/.

เกศศิรินทร์ แสงมณี, ธีระรัตน์ ชิณแสน, นัยวัฒน์ เกิดมงคล และ สมประสงค์ จันทรา. (2562). ผลของการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยหมักจากขี้กรองอ้อยร่วมกับมูลสุกรต่อผลผลิตของอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3. วารสารเกษตรนเรศวร, 16(1), 9-14.

ฉลอง เกิดศรี และ ไพโรจน์ สุวรรณจินดา. (2551). การปลูกข้าวโพดหวานในสวนยางพารา. เกษตรชายแดนใต้ ฉบับชาวบ้าน, 3(8), 11.

ชัยสิทธิ์ ทองจู. (2538). การใช้อินทรีย์วัสดุเหลือใช้บางชนิดเป็นปุ๋ยไนโตรเจน สำหรับกวางตุ้งและข้าวโพดฝักอ่อนที่ปลูกในชุดดินกำแพงแสน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธีระพงศ์ จันทรนิยม และ อัจฉรา เพ็งหนู. (2557). การผลิตปุ๋ยหมักจากวัสดุเศษเหลือในโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม. เคหการเกษตร, 38(11), 234-240.

วรรณิศา ปัทมะภูษิต และ พรไพรินทร์ รุ่งเจริญทอง. (2557). ประสิทธิภาพปุ๋ยเคมีต่ออัตราการเจริญเติบโตและผลผลิตคะน้า. วารสารแก่นเกษตร, 42(3), 941-946.

วันยุภา บุตรวร, ณัฐรดา โสพิลา และ อังคณา เทียนกล่ำ. (2561). ผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยหมักเติมอากาศต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของหอมแบ่ง. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร, 2(2), 40-46.

ศิราณี วงศ์กระจ่าง. (2558). ผลของการใช้ปุ๋ยหมักจากทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันและปุ๋ยน้ำหมักต่อการเจริญเติบโตพืช. วารสารวิทยาลัยราชนครินทร์, 7(1), 146-152.

ศุภมาศ พนิชศักดิ์พัฒนา, กุลวดี คันธวิวรณ์ และ สุเทพ ทองแพ. (2531). การใช้วัสดุเหลือใช้บางชนิดเป็นปุ๋ยพืชไร่ในชุดดินกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเกษตร กรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2562, จาก http://www.pikul.lib.ku.ac.thcgi-binagre.exe?recid=005203&database=agre&search_type=link&table=mona&back_path=agremona&lang=thai&format_name=TFMON.

สมถวิล รุ่งศิรินันท์พร. (2545). ผลของปุ๋ยหมักฟางข้าวชนิดต่าง ๆ ที่มีต่อผลผลิตของผัก. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏเลย จังหวัดเลย. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2562, จาก http://www.pikul.lib .ku.ac.th/cgi-bin/agre.exe?rec_id=004073&database=agre&search_type=link&table=mona&back_path=/agre/mona&lang=thai&format_name=TFMON.

สำนักงานสถิติจังหวัดสกลนคร. (2561). รายงานวิเคราะห์สถานการณ์จังหวัดสกลนคร. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2563, จาก http://www.osthailand.nic.go.th/ masterplan_area/userfiles/file%20.

อมลณัฐ ฉัตรตระกูล. (2554). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ของมะขาม. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์. (2556). ผลของการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีไนโตรเจนที่มีต่อผลผลิตและประสิทธิภาพการใช้ธาตุไนโตรเจนของข้าว. วารสารวิชาการเกษตร, 31(3), 270-281.

He, Z., Yang, X., Kahn, B. A., Stoffella, P. J., & Calvert, D. V. (2001). Plant nutrition benefits of phosphorus, potassium, calcium. Magnesium, and micronutrients from compost utilization. In Compost Utilization in Agricultural Cropping Systems. New York: Lewis.

Richard, T. L. (1992). Municipal solid waste composting. Physical and biological processing. Biomass & Bioenergy, 3(3-4), 195-211.