ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ในการป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

Main Article Content

อังศุมารินทร์ ปากวิเศษ
สมศักดิ์ อินทมาต

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 2 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย) และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ 2 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย) ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ 2 อ. ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่อาศัยอยู่ในตำบลอุ่มเหม้า อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จำนวน 224 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ไคสแควร์และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


            ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 100 ส่วนคะแนนรวมพฤติกรรมสุขภาพ 2 อ. พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่ไม่ดีร้อยละ 89.29 เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ 2 อ. พบว่า สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และอาชีพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ 2 อ. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ 2 อ. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ เจ้าหน้าที่ควรสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานโดยการนำโปรแกรมสุขศึกษาที่เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่างเพื่อสามารถนำมาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองให้ถูกต้องและเหมาะสมได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2566 จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=formated/ncd.php&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=cefa42b9223ec4d1969c5ce18d762bdd.

กองสุขศึกษา. (2554). การสร้างเสริมและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย).

กองสุขศึกษา. (2561). โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 2 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย). ในการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง สำหรับวัยทำงาน. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กระทรวงสาธารณสุข. ม.ป.ท.

ณัฐสิทธิ์ สินโท, วิโรจน์ คำแก้ว, อสิรา จุมมาลี และ ธารินี ศรีศักดิ์นอก. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15(3), 99-113.

วิชัย เอกพลากร. (2557). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สกาวเนตร ไทรแจ่มจันทร์, วัลลภา อันดารา, อุษณีย์ บุญบรรจบ และ รฐานุช ถิ่นสอน. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ของประชาชนในชุมชนบ้านเอื้ออาทรบางเขน (คลองถนน). วารสารพยาบาลทหารบก, 22(3), 376-386.

สมฤทัย เพชรประยูร, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล และ ธวัชชัย พีรพัฒน์ดิษฐ์. (2557). อิทธิพลของการรับรู้ความรุนแรงของโรค ความแตกฉานด้านสุขภาพและการสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 26(1), 38-51.

สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2558). แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน. กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

แสงเดือน กิ่งแก้ว และ นุสรา ประเสริฐศรี. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(3),43-54.

อภิรดี การสมวรรณ์. (2557). ความฉลาดทางสุขภาพและปัจจัยทำนายความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยนอกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลค่ายขุนเจืองธรรมิกราชจังหวัดพะเยา. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา).

อรุณี เขียวหล้า. (2558). ความฉลาดทางด้านสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการรับประทานยาใน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเปียงหลวง จังหวัดเชียงใหม่. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา).

เอกชัย รักสวย. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(4),345-359.

Best, J. W. (1981). Research in Education. 4th ed. New Jersey, Prentice- Hall Inc.