ผลของสารเคลือบผิวจากไคโตซานต่อคุณภาพของผลมะเดื่อฝรั่งพันธุ์มาซุย ดอร์ฟิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาสารเคลือบผิวจากไคโตซานต่อคุณภาพผลผลิตมะเดื่อฝรั่งพันธุ์มาซุย ดอร์ฟิน โดยใช้สารไคโตซานความเข้มข้น 3 ระดับ ได้แก่ร้อยละ 0.1, 0.2 และ 0.3 เปรียบเทียบกับการไม่เคลือบผิว พบว่าหลังการเก็บรักษานาน 4 สัปดาห์ การไม่เคลือบผิวและการเคลือบผิวด้วยไคโตซานร้อยละ 0.3 สูญเสียน้ำหนักน้อยกว่าการเคลือบผิวด้วยไคโตซานร้อยละ 0.1 ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ในสัปดาห์ที่ 4 หลังการเก็บรักษา การเคลือบผิวด้วยไคโตซานร้อยละ 0.3 มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้มากกว่าการไม่เคลือบผิวและการเคลือบผิวด้วยไคโตซานร้อยละ 0.2 การเคลือบผิวด้วยไคโตซานร้อยละ 0.3 มีปริมาณกรดที่ไทเทรตได้น้อยที่สุดสัดส่วนของปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้และปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ (TSS/TA) สูงที่สุด การเคลือบผิวด้วยไคโตซานร้อยละ 0.3 มีปริมาณแอนโทไซยานินสูงกว่าการเคลือบผิวด้วย
ไคโตซานร้อยละ 0.1 และ 0.2 สีผิวของผลในทุกระดับของการเคลือบผิวไม่มีความแตกต่างกัน
Article Details
References
กมลวรรณ ชูชีพ. (2543). ผลของสารเคลือบผิวไคโตแซนต่อคุณภาพของสตรอเบอร์รี่หลังการเก็บเกี่ยว. (วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี).
จุฑามาศ กลิ่นโซดา. (2559). สารเคลือบผิวอาหารกับการประยุกต์ใช้ในผักและผลไม้. วารสารอาหาร, 46(1), 33-37.
ดวงใจ ทองคำ, ปรีติยาทร แก้วมณี, ธวิช อินทรพันธุ์ และ มยุรี กระจายกลาง. (2562). ผลของสารเคลือบผิวด้วยไคโตซานร่วมกับกรดซิตริกต่ออายุการเก็บรักษาผลมะนาวพันธุ์แป้น. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 50(พิเศษ1), 38-44.
ดนัย บุณยเกียรติ และ พิมพ์ใจ สีหะนาม. (2546). ผลของการเคลือบผิวด้วยไคโตซานต่อคุณภาพของผลสตรอเบอรี่. วารสารเกษตร, 19(2), 100-106.
ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ. (2557). สวนคุณลี ปลูกมะเดื่อฝรั่งเชิงพาณิชย์. วารสารเส้นทางกสิกรรม, 19(228), 11-13.
วารินทร์ พิมพา และ ภาสุรี ฤทธิ์เลิศ. (2549). การยืดอายุผลละมุดโดยการเคลือบด้วยไคโตซานและโซเดียมไบคาร์บอเนต. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 2, 138-141.
สุพัฒธณกิจ โพธิ์สว่าง. (2563). การทดสอบพันธุ์มะเดื่อฝรั่งบนที่สูง. วารสารผลิตกรรมการเกษตร, 2(2), 31-38.
โสรญา รอดประเสริฐ. (2557). สรรสาระ สารเคลือบผิวผลไม้มีประโยชน์อย่างไร. กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 62(196), 41-43.
อัญชุลี ยินดี. (2539). การเปลี่ยนแปลงรงควัตถุในมะม่วงและลิ้นจี่ในช่วงก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว. (วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
Dhital, R., Becerra, N., Watson, D. G., Kohli, P., & Choudhary, R. (2018). Efficacy of limonene nano coating on post-harvest shelf life of strawberries. LWT-Food Science and Technology, 97, 124-134.
Nongtaodum, S., & Jangchud, A. (2009). Effects of edible chitosan coating on quality of fresh-cut mangoes (Fa-lun) during storage. Kasetsartjournal, 43, 282–289.
Sikder, B. H., Islam, M., Rashid, S. S., & Moazzem, S. (2019). Effect of shrimp chitosan coating on physicochemical properties and shelf life extension of banana. International journal of engineering technology and sciences, 6(1), 41-54.
Xing, Y., Xu, Q., Li, X., Chen, C., Ma, L., Li, S., Che, Z., & Lin, H. (2016). Chitosan-based coating with antimicrobial agents: preparation, property, mechanism, and application effectiveness on fruits and vegetables (review). International Journal of Polymer Science, https://doi.org/10. 1155/2016/4851730.