ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนและคาร์บอนเครดิตจากป่าชุมชนห้วยหินขาว ตำบลด่านศรีสุข อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาปริมาณการกักเก็บคาร์บอนและคาร์บอนเครดิตจากป่าชุมชนห้วยหินขาว ตำบลด่านศรีสุข อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณการกักเก็บคาร์บอนและประเมินมูลค่าคาร์บอนกักเก็บตามราคาตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตจากป่าชุมชน ศึกษาในเขตพื้นที่ป่าเศรษฐกิจใช้สอยของป่าชุมชน ประมาณ 356 ไร่ (ร้อยละ 40 ของพื้นที่ป่าชุมชนทั้งหมด 891 ไร่) โดยวางแปลงตัวอย่างขนาด 10x10 เมตร จำนวน 20 แปลง วัดเส้นรอบวงและความสูงของต้นไม้ทุกต้นในแปลงที่มีขนาดเส้นรอบวงตั้งแต่ 5 เซนติเมตรขึ้นไป นำมาคำนวณปริมาณมวลชีวภาพโดยสมการแอลโลเมตริก มวลชีวภาพใต้ดินโดยใช้สมการ IPCC และการกักเก็บคาร์บอนโดยใช้สมการ IPCC, (2006) ผลการศึกษา พบว่า พื้นที่ศึกษาเป็นป่าเต็งรัง (Deciduous Dipterocarp Forest) มีพันธุ์ไม้ยืนต้นทั้งหมด 32 ชนิด 20 วงศ์ เช่น รัง (Shorea siamensis Miq.) ประดู่ (Pterocarpus macrocarpus Kurz) และมะกอกเกลื้อน (Canarium sublatum Guillaumin) เป็นต้น จำนวนต้นไม้ในแปลงตัวอย่างมีทั้งหมด 260 ต้น ส่วนปริมาณมวลชีวภาพของพื้นที่ป่าเศรษฐกิจใช้สอยในปัจจุบันและในอนาคตอีก 10 และ 20 ปีข้างหน้า พบว่า มีปริมาณมวลชีวภาพรวม เท่ากับ 10,947 15,898 และ 22,272 ตัน ตามลำดับ ปริมาณคาร์บอนกักเก็บในปัจจุบันและในอนาคตอีก 10 และ 20 ปีข้างหน้า เท่ากับ 5,145 7,472 และ 10,468 ตัน ตามลำดับ มูลค่าคาร์บอนกักเก็บจากราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิตในปัจจุบัน ในอนาคตอีก 10 และ 20 ปีข้างหน้า เท่ากับ 4,815,807 6,993,987 และ 9,797,953 บาท ตามลำดับ
Article Details
References
กานต์นภัส ดวงกลาง, สคาร ทีจันทึก และ สมพร แม่ลิ่ม. (2561). การเปลี่ยนแปลงและการกักเก็บคาร์บอนของสังคมพืชในแปลงตัวอย่างป่าฟื้นฟูระบบนิเวศ ป่าเขาภูหลวง จังหวัดนครราชสีมา. น. 478-486. ใน: การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 19. 9 มีนาคม 2561. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
กรมป่าไม้. (2563). บ้านห้วยหินขาว. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563, จากhttp://forestinfo.forest.go.th/fCom_detail.aspx?id=8457.
จุฑาพร ทองนุ่น, พิชิต ลำไย, สันติ สุขสะอาด และ ศุภศิษย์ ศรีอักขรินทร. (2565). พลวัตป่าไม้และการกักเก็บคาร์บอนในช่วงเวลา 10 ปี ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดแพร่. วารสารวนศาสตร์ไทย, 41(2), 48-62.
ชัญษา กันฉิ่ง, ณัฐพงษ์ ฟองมณี, ปาริฉัตร ประพัฒน์, สิทธิศักดิ์ ปิ่นมงคลกุล, เกื้อกูล กุสสลานุภาพ, และ บัณฑิตา ใจปินตา. (2559). การกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของพืชที่มีเนื้อไม้ ป่าชุมชนห้วยข้าวก่ำ อำเภอจุน จังหวัดพะเยา. น. 89-95. ใน: การประชุมวิชาการการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3. 15-17 มิถุนายน 2559. โรงแรม ดิ อิมเพรส น่าน, น่าน.
ดอกรัก มารอด. (2555). นิเวศวิทยาป่าไม้ประยุกต์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธีรวงศ์ เหล่าสุวรรณ, พรชัย อุทรักษ์, อุษา กลิ่นหอม, ชาลี นาวานุเคราะห์, เชษฐพงษ์ บุตรเทพ, เจ เอช สาเม็ก และ เดวิด แอล สโคล. (2556). ความสำเร็จของเครือข่ายชุมชนอินแปงจากการมีส่วนร่วมในการบรรเทา สภาวะโลกร้อนผ่านทางภาคป่าไม้. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 16(2), 44-54.
วสันต์ จันทร์แดง, ลดาวัลย์ พวงจิตร และ สาพิส ดิลกสัมพันธ์. (2553). การกักเก็บคาร์บอนของป่าเต็งรังและสวนป่ายูคาลิปตัส ณ สวนป่ามัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น. วารสารวนศาสตร์, 29(3), 36-44.
วัฒนณรงค์ มากพันธ์, จิตติมา รับไทรทอง และ สุภาวดี แซะอาหลี. (2561). ปริมาณคาร์บอนสะสมในต้นไม้ บริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 10(2), 119-128.
องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). (2559). การพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565, จาก http://www.tgo.or.th/2015/thai/content.php?s1=13.
IPCC. (2006). IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories : Chapter 4 Forestland. National Greenhouse Gas Inventories Programme. IGES, Japan.
Ogawa, H., Yoda, K., & Kira, T. (1965). A preliminary survey on the vegetation of Thailand. Nature and life in SE Asia, 1, 21-157.