ระบบการจัดการพลังงานไฟฟ้าในอาคารด้วยอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) กรณีศึกษา อาคารศรีโคตรบูรณ์ มหาวิทยาลัยนครพนม

Main Article Content

ณัฐภัทร อภิรัชภิญโญ
สมบูรณ์ ชาวชายโขง

บทคัดย่อ

         การพัฒนาระบบการจัดการพลังงานไฟฟ้าในอาคารด้วยอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) กรณีศึกษาอาคารศรีโคตรบูรณ์ มหาวิทยาลัยนครพนม มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการระบบการจัดการพลังงานไฟฟ้า 2) พัฒนาระบบจัดการพลังงานไฟฟ้า 3) ทดสอบประสิทธิภาพและประเมินความพึงพอใจต่อระบบจัดการพลังงานไฟฟ้า ประชากรคือบุคลากรวิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม จำนวน 40 คน การพัฒนาระบบพบว่า ระบบสามารถบันทึกการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในห้องต่าง ๆ แสดงรายงานการใช้พลังงาน ณ ปัจจุบันและย้อนหลังรวมถึงสรุปค่าไฟฟ้า โดยผู้ใช้งานระบบสามารถควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยตัวเองหรือสั่งเปิด-ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบอัตโนมัติเมื่อไม่มีคนอยู่ภายในห้องทำงานผ่านแอปพลิเคชัน Blynk จากการประเมินประสิทธิภาพ และความพึงพอใจต่อระบบการจัดการพลังงานไฟฟ้าพบว่า ประสิทธิภาพของระบบจากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันงานของระบบ (Functional Test) สำหรับความพึงพอใจต่อระบบ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานระบบ (Functional Requirement Test)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2558). การประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน, 1(1), 1-4.

กองนโยบายและแผนมหาวิทยาลัยนครพนม. (2562). NPU Family’s Energy Saving for All. รอบรั้วกันเกรา, 2(1), 1-5.

เจษฎา ขจรฤทธิ์, ปิยนุช ชัยพรแก้ว และ หนึ่งฤทัย เอ้งฉ้วน. (2560). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Internet of Things เพื่อควบคุมระบบส่องสว่างในบ้านอัจฉริยะ. วิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 7(1) 1-11.

พลวัฒน์ ดำรงกิจภากร. (2556). การพัฒนาการเก็บข้อมูลพลังงานไฟฟ้าโดยใช้โทรศัพท์มือถือกรณีศึกษาโรงเรียนสาธิต มหาวทยาลัยศิลปกร. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุริยัน นิลทะราช. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารงานพัสดุ เพื่อการควบคุมวัสดุ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.