การพัฒนาแบบวัดเวลาปฏิกิริยาตอบสนองสำหรับกีฬาฟุตบอล

Main Article Content

อรวรีย์ อิงคเตชะ
นนท์นริฐ เจริญกิจวิชนนท์
เสกสรรค์ ทองคำบรรจง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแบบวัดเวลาปฏิกิริยาตอบสนองที่มีความเหมาะสมสำหรับกีฬาฟุตบอล และทดสอบความสอดคล้องของแบบวัดเวลาปฏิกิริยาตอบสนองที่สร้างขึ้นกับแบบวัดมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชาย มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ จำนวน 30 คน ทดสอบตามแบบวัดเวลาปฏิกิริยาตอบสนองสร้างขึ้นกับแบบวัดมาตรฐาน นำมาทดสอบหาค่าอำนาจจำแนกระหว่างกลุ่มสูง-ต่ำด้วย Independent sample t-test หาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเวลาปฏิกิริยาตอบสนองที่ผู้วิจัยพัฒนาด้วยการตรวจสอบความคงที่ภายใน (Internal consistency) และตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์ (Criterion related validity) ด้วยความเที่ยงตรงเชิงสภาพ (Concurrent validity) ผลการ ศึกษาพบว่า 


1) ค่าความคงที่ภายในของแบบทดสอบเวลาปฏิกิริยาตอบสนองที่พัฒนาขึ้นมีความคงที่ภายในตั้งแต่การทดสอบรอบที่ 1-4 (15, 13, 11, และ 9 ครั้ง) ในการทดสอบรอบที่ 1 (Test) มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัคที่ 0.840, 0.942, 0.973, และ 0.985 ตามลำดับ และในการทดสอบซ้ำ (Retest) มีค่า 0.931, 0.943, 0.963, และ 0.985 ตามลำดับ และจากการทดสอบในรอบที่ 4 (9 ครั้ง) ของการทดสอบและการทดสอบซ้ำ พบว่ามีความใกล้เคียงกับค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแอลฟา (Standardized Alpha) มากที่สุดที่ 0.985:0.989, 0.985:0.986, และ 0.989:0.991 ตามลำดับ


2) กลุ่มที่ได้คะแนนสูงจะมีการใช้เวลาในการตอบสนองต่อเป้าหมายที่ต่ำ และในกลุ่มที่ได้คะแนนต่ำจะมีการตอบสนองต่อเป้าหมายโดยใช้เวลาที่สูง โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.001


3) ค่าความเชื่อมั่นของการทดสอบ (Test) และการทดสอบซ้ำ (Retest) ของแบบ ทดสอบเวลาปฏิกิริยาตอบสนองระหว่างแบบวัดที่พัฒนาขึ้นกับแบบวัดมาตรฐาน มีความ สัมพันธ์กันอย่างมีในนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.0001


            สรุปผลการวิจัย พบว่าแบบทดสอบที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับกีฬาฟุตบอล
มีความคงที่ภายในของแบบทดสอบ และความเชื่อมั่นอยู่ในระดับที่ดี สามารถนำไปประยุกต์ ใช้กับกีฬาฟุตบอลได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาหลง เย็นจิตต์. (2553). วิทยาศาสตร์การกีฬาฟุตบอล (Sport Science for Soccer). กรุงเทพฯ: ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา, การกีฬาแห่งประเทศไทย.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2538). เทคนิคการฝึกความเร็ว. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณัฐวุฒิ ไวโรจนานันต์ และ ชาญชัย ขันติศิริ. (2559). การสร้างเครื่องทดสอบเวลาปฏิกิริยาการตอบสนองของการทำงานระหว่างตากับการเคลื่อนไหวของร่างกายไปยังตำแหน่งเป้าหมายเพื่อใช้ในกีฬาแบดมินตัน. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 31(3), 165-174.

ประโยค สุทธิสง่า. (2527). แบบทดสอบทักษะฟุตบอลระดับอุดมศึกษาไทย. ภาควิชาพลศึกษา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุวิมล ติรกานันท์. (2551). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16, 297-334.

Hicheur, H., Chauvin, A., Chassot, S., Chenevière, X., & Taube, W. (2017). Effects of age on the soccer-specific cognitive-motor performance of elite young soccer players: Comparison between objective measurements and coaches’ evaluation. PLoS one, 12(9), e0185460.

McGuckian, T. B., Cole, M. H., Chalkley, D., Jordet, G., & Pepping, G. J. (2019). Visual exploration when surrounded by affordances: frequency of head movements is predictive of response speed. Ecological Psychology, 31(1), 30-48.

Melick, N. V., Meddeler, B. M., Hoogeboom, T. J., Sanden, M., & van Cingel, R., (2017). How to determine leg dominance: The agreement between self-reported and observed performance in healthy adults. PLoS One, 12(12), e0189876.