พฤติกรรมการใช้สารกำจัดวัชพืชของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ในอำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

เบญจภรณ์ อ่อนสุระทุม
อรรถศาสตร์ วิเศียรศาสตร์
วิบูล เป็นสุข

บทคัดย่อ

          อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร มีเกษตรกรประกอบอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 90 ซึ่งมีพื้นที่ปลูกยางพารา 39,496 ไร่ เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราร้อยละ 90 มีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชเพื่อดูแลรักษาต้นยางพาราให้สามารถเจริญเติบโตได้ดีขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร โดยประชากรในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกยางพาราในตำบลคำตากล้า ตำบลนาแต้ ตำบลหนองบัวสิม และตำบลแพด อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร จำนวน 2,331 ครัวเรือน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ซึ่งได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 341 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ในช่วงเดือนพฤษภาคม – พฤศจิกายน 2563 และทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมาน คือ One-way ANOVA ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรทั้ง 4 ตำบล มีพฤติกรรมก่อนใช้สารกำจัดวัชพืชที่ถูกต้องในภาพรวมไม่แตกต่างกัน คือ เกษตรกรมีการปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นบางครั้ง ส่วนพฤติกรรมขณะใช้สารกำจัดวัชพืชในภาพรวม พบว่า เกษตรกรทั้ง 4 ตำบล มีพฤติกรรมขณะใช้สารกำจัดวัชพืชที่ถูกต้องในภาพรวมไม่แตกต่างกัน คือ เกษตรกรมีการปฏิบัติที่ถูกต้องทุกครั้ง และผลการศึกษาพฤติกรรมหลังใช้สารกำจัดวัชพืชที่ถูกต้องในภาพรวม พบว่า เกษตรกรทั้ง 4 ตำบลมีการปฏิบัติที่ถูกต้องทุกครั้ง จากการศึกษาในครั้งนี้จะทำให้เราทราบพฤติกรรมของเกษตรกรในการใช้สารกำจัดวัชพืช ต้องได้รับการดำเนินการควบคุม แก้ไข หากมีความจำเป็นที่ต้องใช้สารเคมีอยู่ ควรมีพฤติกรรมที่ปลอดภัย ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อที่ลดจำนวนผู้ป่วยที่เกิดจากการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชของเกษตรกร

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. (2542). การกำจัดวัชพืชในสวนยางพารา. ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ.

จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ, เพลินพิศ จับกลาง, สุวิมล บุญเกิด และ อัญชลี อาบสุวรรณ์. (2557). การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรบ้านห้วยสามขา ตำบลทัพรั้ง อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา.

ศรีนครินทร์เวชสาร, 29(5), 429-434.

น้ำเงิน จันทรมณี. (2560). พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและประสิทธิผลของการให้อาชีวสุขศึกษาทีมีผลต่อความรูทางด้านความปลอดภัยของเกษตรกรพื้นที่ต้นน้ำจังหวัดพะเยา. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 10(37), 35-45.

ระวี เจียรวิภา. (2562). พืชร่วมในสวนยางพาราทางภาคใต้ของประเทศไทย: ผลกระทบและรูปแบบการปลูกอย่างยั่งยืน. วารสารพระจอมเกล้า, 37(1), 179-189.

วรเชษฐ ขอบใจ, อารักษ์ ดำรงสัตย์, พิทักษ์พงษ์ ปันต๊ะ และ เดช ดอกพวง. (2553). พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอร์ในเลือดของเกษตรกรต้นน้ำกรณีศึกษาชาวม้ง จังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 4(2), 36-46.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2553). คู่มือเกษตรกรปลอดโรคสำหรับเกษตรกรและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานเกษตรอำเภอคำตากล้า. (2561). รายงานผลการดำเนินงานขึ้นทะเบียนและปรับปรับทะเบียนเกษตรกร ปี 2561/2562. (อัดสำเนา)

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร ปัจจัยการผลิตปริมาณและมูลค่าการนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืช. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2564, จาก

https://www.oae.go.th/view/1/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95/TH-TH.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.