อิทธิพลของขนและปากใบต่อความสามารถในการดักจับฝุ่น PM10 ของใบไม้พุ่มและใบไม้รอเลื้อยบางชนิด

Main Article Content

มัทนภรณ์ ใหม่คามิ
เพ็ญศิริ ไพจิตร

บทคัดย่อ

ฝุ่นละออง (Particulate matter: PM) เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ มีรายงานว่าใบพืชมีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งใบไม้ที่มีผิวใบไม่เรียบ จึงได้นำพืชที่ใบมีขน 4 ชนิด โดยเป็นไม้พุ่ม 2 ชนิด (ชาฮกเกี้ยนและราชาวดี) ไม้รอเลื้อย 2 ชนิด (สร้อยอินทนิล และพวงคราม) มาศึกษารูปร่างใบ ขนาดใบ ขนใบ และปากใบ และประสิทธิภาพของการดักจับฝุ่นแป้งอนุภาคขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) จากการศึกษาพบว่าสร้อยอินทนิลมีอนุภาคแป้งที่เหลืออยู่บนแผ่นใบมากที่สุด เนื่องจากสร้อยอินทนิลมีความกว้างใบและความยาวปากใบมากที่สุด ส่วนพวงครามมีพื้นที่ใบมากสุด แต่มีประสิทธิภาพการดักจับอนุภาคแป้งน้อยกว่าสร้อยอินทนิลเกิดจากความหนาแน่นเซลล์ขนด้านท้องใบน้อย แม้ว่าราชาวดีมีความหนาแน่นของเซลล์ขนมากที่สุด แต่ความยาวเซลล์ขนและปากใบสั้น จึงทำให้อนุภาคแป้งที่เหลืออยู่บนแผ่นใบค่อนข้างน้อย ชาฮกเกี้ยนมีประสิทธิภาพของการดักจับฝุ่นที่มีอนุภาคขนาดเล็กน้อยที่สุดเพราะใบมีขนาดเล็กและเซลล์ขนมีความหนาแน่นน้อย เมื่อพิจารณาค่าสหสัมพันธ์ความกว้างใบและความยาวปากใบมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญมากกว่าพื้นที่ใบและความยาวเซลล์ขนทั้งสองด้านของใบต่อประสิทธิภาพของการดักจับฝุ่น PM10 ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารูปร่างใบ ความยาวปากใบ ความยาวขน ความหนาแน่นของขน และความหนาแน่นปากใบมีผลต่อประสิทธิภาพการดักจับอนุภาคฝุ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2561). โครงการศึกษาแหล่งกำเนิดและแนวทางการจัดการฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล. กรุงเทพฯ: กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมอนามัย และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ กรณีฝุ่นละอองขนาดเล็ก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

กลุ่มเฝ้าระวังฝุ่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2562). เรียนรู้ อยู่กับฝุ่น PM2.5. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกษม จันทร์แก้ว. (2541). เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: โครงการสหวิทยาการบัณฑิตศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จิดาภา พรหมสิงห,์ อนิษฐาน ศรีนวล และ วิโรจน์ เกษรบัว. (2559). กายวิภาคศาสตร์เนื้อเยื่อชั้นผิวใบของพืชวงศ์มะขามป้อม (Phyllanthaceae) บางชนิดในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 18(3), 87-87.

ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์. (2558). พวงคราม. จุลสาร สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน, 20(2): 6

พาสินี สุนากร, องอาจ ถาพรภาษี และ พัชริยา บุญกอแก้ว. (2559). การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการจับฝุ่นละอองของพรรณไม้เลื้อย. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 15(2), 175-186.

นิพนธ์ ตังคณานุรักษ์ และ คณิตา ตังคณานุรักษ์. (2552). เคมีบรรยากาศ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ราชันย์ ภู่มา. (2559). สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ) เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

ราชันย์ ภู่มา, ปิยชาติ ไตรสารศรี, จิรพรรณ โสภี, นัยนา เทศนา, มานพ ผู้พัฒน์ และ โสมนัสสา ธนิกกูล. (2563). ต้นไม้ลดฝุ่น PM2.5. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

วงษ์จันทร์ วงษ์แก้ว. (2535). หลักสรีรวิทยาของพืช. กรุงเทพฯ: ฟันนี่พับลิชชิ่ง.

วรมน แสนชมภู. (2559). รูปแบบและวัสดุที่ใช้งานก่อสร้างรั้วบ้านพักอาศัย : กรณีศึกษาเขตจตุจักร. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

วริศชนม์ นิลนนท์, กุลพร พุทธมี และ จิรพร สวัสดิการ. (2560). การพัฒนาการผลิตแป้งฟลาวร์และสตาร์ชจากเมล็ดทุเรียน และ การประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี

Esposito, F., Memoli, V., Panico, S. C., Di Natale, G., Trifuoggi, M., Giarra, A., & Maisto, G. (2020). Leaf traits of Quercus ilex L. affect particulate matter accumulation. Urban Forestry & Urban Greening, 54, 126780.

Kwak, M. J., Lee, J. K., Park, S., Kim, H., Lim, Y. J., Lee, K. A., Son, J., Oh, C. Y., Kim, I., & Woo, S. Y. (2020). Surface-based analysis of leaf microstructures for adsorbing and retaining capability of airborne particulate matter in ten woody species. Forests, 11(9), 1-20.

Leonard, R. J., McArthur, C., & Hochuli, D. F. (2016). Particulate matter deposition on roadside plants and the importance of leaf trait combinations. Urban Forestry & Urban Greening, 20, 249-253.

Liang, D., Ma, C., Wang, Y. Q., Wang, Y. J., & Chen-Xi, Z. (2016). Quantifying PM2.5 capture capability of greening trees based on leaf factors analyzing. Environmental science and pollution research, 23(21), 21176-21186.

Nowak, D. J., Crane, D. E., & Stevens, J. C. (2006). Air pollution removal by urban trees and shrubs in the United States. Urban forestry & urban greening, 4(3-4), 115-123.

Sæbø, A., Popek, R., Nawrot, B., Hanslin, H. M., Gawronska, H., & Gawronski, S. W. (2012). Plant species differences in particulate matter accumulation on leaf surfaces. Science of the Total Environment, 427, 347-354.

Song, Y., Maher, B. A., Li, F., Wang, X., Sun, X., & Zhang, H. (2015). Particulate matter deposited on leaf of five evergreen species in Beijing, China: Source identification and size distribution. Atmospheric environment, 105, 53-60.

Steel, R. G., & Torrie, J. H. (1986). Principles and procedures of statistics: a biometrical approach. New York: McGraw-Hill.