ผลของปริมาณพริกแกงพะแนงต่อการยอมรับหอยจ๊อแช่เยือกแข็ง

Main Article Content

วิชชุมา เตชะสิริวิชัย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปริมาณพริกแกงพะแนงที่เหมาะสมในการทำหอยจ๊อแช่เยือกแข็ง 2) ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหอยจ๊อแช่เยือกแข็ง 3) ศึกษาอายุการเก็บ คุณภาพด้านค่าสี และจุลินทรีย์ของหอยจ๊อแช่เยือกแข็ง ประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม โดยผู้ไม่ผ่านการฝึกฝนทดสอบชิมจำนวน 50 คน ผลการวิจัย พบว่า ปริมาณพริกแกงพะแนงร้อยละ 20 ได้รับคะแนนความชอบโดยรวมสูงสุด (7.98) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ของการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส นำหอยจ๊อแช่เยือกแข็งที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดมาทอดให้สุก พบว่า ในน้ำหนัก 100 กรัม/4ชิ้น มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้ พลังงาน 162.88 กิโลแคลอรี่ ปริมาณความชื้น 63.09 กรัม ปริมาณเถ้า 2.59 กรัม ปริมาณไขมัน 5.12 กรัม ปริมาณโปรตีน 15.55 กรัม และปริมาณคาร์โบไฮเดรต 13.65 กรัม ผลการศึกษาอายุการเก็บรักษา คุณภาพด้านสี และจุลินทรีย์ พบว่า หอยจ๊อแช่เยือกแข็งที่บรรจุด้วยถุงพลาสติกโพลีเอทิลีนแบบสุญญากาศ เก็บไว้ที่อุณหภูมิ –18 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 สัปดาห์ นำมาทอดสุกแล้วทำการวิเคราะห์หาค่าสี พบว่า ค่าความสว่าง L* มีค่าเท่ากับ 38.80 ค่าสีแดง a* มีค่าเท่ากับ 20.93 ค่าสีเหลือง b* มีค่าเท่ากับ 32.10 จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดไม่เกิน 1 × 106 CFU/กรัม และไม่พบการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย Salmonella spp. ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน มผช.506/2555

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ญดา ศรีเงินยวง และ ชนิรัตน์ สำเร็จ. (2560). แกงไทย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พิมพ์ดี จำกัด.

ดวงกมล ตั้งสถิตพร, ดวงสุดา เตโชติรส, น้อมจิตต์ สุธีบุตร และ ชมภูนุช เผื่อนพิภพ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์หมูยอทดแทนไขมันสัตว์ทอดกรอบ.รายงานผลการวิจัย,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ปราณี อ่านเปรื่อง. (2547). หลักการวิเคราะห์ทางประสาทสัมผัส. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรพาชื่น ชูเชิด, ชมพู่ ยิ้มโต และ ประดิษฐ์ หนองคำไผ่. (2550). การพัฒนาผลิตภัณฑ์หมูยอลดไขมันเสริมสมุนไพรแกงเขียวหวาน. รายงานผลการวิจัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศรีสมร คงพันธุ์. (2551). เข้าครัวเป็นอาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แสงแดดจำกัด.

สถาบันอาหาร. (2564). เรื่องบริการตรวจวิเคราะห์. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.nfi.or.th/service-chemical-analysis.php.

สาคร มะลิพันธุ์. (2554). อาหารว่าง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ หจก. ภาพพิมพ์.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2555). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนฮ่อยจ๊อมผช.506/2555. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงอุตสาหกรรม.

สำนักพิมพ์แสงแดด. (2563). อาหารไทยจงเจริญ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พิมพ์ดี จำกัด.

สุภรณ์ พจนมณี. (2555). ตำรับอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: วีรณาเพลส.

อรอนงค์ นัยวิกุล, วรรณี จิรภาคย์กุล, พิณทิพย์ รัมภกาภรณ์, ปรียา วิบูลย์เศรษฐ์, วราภา มหากาญจนกุล, สุดสาย ตรีวานิช, จิตศิริ ราชตนะพันธุ์, ปริศนา สุวรรณาภรณ์, ศิวาพร ศิวเวชช, อนุกูล วัฒนสุข, โชคชัย ธีรกุลเกียรติ, สายพิณ ทานัชฌาสัย, ทนง ภัครัชพันธุ์, ธนะบูลย์ สัจจาอนันตกุล, ศศิธร ตรงจิตภักดี, สายสนม ประดิษฐดวง, สงวนศรี เจริญศรี, วีรเชษฐ์ จิตตาณิชย์, สาวิตรี รัตนสุมาวงศ์, สุคนธ์ชื่น ศรีงาม, และ วรรณวิบูลย์ กาญจนกุญชร. (2559). วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารเล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

James, C. S. (1995). Analytical Chemistry of Foods.Blackie Academic & Professional. London, pp 3-16.