ศึกษาศักยภาพการเจริญเติบโตของมะเดื่อฝรั่ง 4 พันธุ์ เพื่อปลูกบนพื้นที่ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

ศิวดล แจ่มจำรัส
สมคิด ฤทธิ์เนติกุล
ประธาน เรียงราด
การันต์ ผึ่งบรรหาร

บทคัดย่อ

          การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบหาสายพันธุ์มะเดื่อฝรั่งที่เหมาะสมในการปลูกบนพื้นที่สูงของอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้พันธุ์มะเดื่อฝรั่ง 4 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ออสเตรเลีย, แบล็ค อิสราเอล, บีทีเอ็ม 6 (BTM 6) และไวท์ ซีเรีย พบว่ามะเดื่อฝรั่งอายุหลังย้ายปลูก 150 วัน มะเดื่อฝรั่งพันธุ์แบล็ค อิสราเอล และพันธุ์ออสเตรเลียมีประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสง (Fv/Fm) มากกว่าพันธุ์ บีทีเอ็ม 6 โดยมีค่าเท่ากับ 0.711-0.713 และ 0.587 ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยในของส่วนค่าประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงมะเดื่อฝรั่งพันธุ์ออสเตรเลียมีความสัมพันธ์กับปริมาณคลอโรฟิลล์ที่มีมากที่สุด โดยมีค่าเท่ากับ 53.23 spad unit ส่วนมะเดื่อฝรั่งพันธุ์แบล็ค อิสราเอลมีพื้นที่ผิวทรงพุ่มมากกว่าพันธุ์ ออสเตรเลียและพันธุ์ บีทีเอ็ม 6 โดยมีพื้นที่ผิวทรงพุ่มเท่ากับ 8,245.15 4,009.81 และ 2,369.72 ตารางเซนติเมตร ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติยิ่ง ความสูงลำต้นของ พันธุ์แบล็ค อิสราเอลมีมากกว่า พันธุ์ออสเตรเลียและพันธุ์บีทีเอ็ม 6 และจำนวนใบของต้นมะเดื่อฝรั่งพันธุ์ไวท์ ซีเรีย มีจำนวนใบมากที่สุด โดยมีจำนวนใบเท่ากับ 91.33 ใบ ส่วนในสายพันธุ์อื่นๆ มีจำนวนใบอยู่ในช่วง 23.33-41.00 ใบ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งโดยภาพรวมแล้วพันธุ์แบล็ค อิสราเอล มีความเหมาะสมกับการปลูกบนพื้นที่สูงของอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อเทียบกับพันธุ์อื่นที่ทดสอบร่วมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์. (2550). การผลิตไม้ผลเมืองหนาวขนาดเล็กในเขตร้อน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ. (2551). การปลูกมะเดื่อฝรั่งเชิงพาณิชย์. วารสารเส้นทางกสิกรรม, 14(158), 1-66.

นัย บำรุงเวช. (2560). มะเดื่อฝรั่งคนปลูกน้อยแปรรูปอบแห้ง ขายผลสดได้กิโลกรัมละ 200 บาท รสชาติดี คุณค่าทางโภชนาการสูง. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2562, จาก https://www.technologychaoban.com/agriculturaltechnology/article_10587.

เพ็ญแข รุ่งเรือง, กาญจนา เหลืองสุวาลัย, สุนทรียา กาละวงศ์ และ ปณต ขวัญรัตน์. (2560). การชักนำการเกิดยอดและรากของมะเดื่อฝรั่งสายพันธุ์แบล็คแจ็ค (Ficus carica L. “Black Jack”) ในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์, 17(2), 42-53.

ลลิตพันธุ์ จันต๊ะคะรักษ์. (2552). ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกมะเดื่อฝรั่ง ของมูลนิธิโครงการหลวง. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิวดล แจ่มจำรัส. (2554). การชักนำการอกดอกของลำไยที่ได้จากการเพาะเมล็ดเพื่อร่นระยะของการปรับปรุงพันธุ์. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้)

สุขุมาภรณ์ แสงงาม, ธนบูรณ์ พลากุลมณฑล, คณิน คงเอียง และ อภิชาต สุขสำราญ. (2561). การเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์ด้วยแสงของมะเขือเทศเชอรี่พันธุ์ CH154 ภายใต้สภาวะเครียดจากความแล้งด้วยสารบราสสิโนสเตียรอยด์มิมิก. แก่นเกษตร, 46(ฉบับพิเศษ1), 328-332.

สุรินทร์ นิลสำราญจิต. (2529). การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา กายวิภาควิทยา และ การเจริญเติบโตของมะเดื่อฝรั่ง 2 สายพันธุ์ ซึ่งปลูกบนพื้นที่ของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

สุรินทร์ นิลสำราญจิต, จารุพันธ์ ทองแถม, และ วิณ ปุณศรี. (2553). การเจริญเติบโตของมะเดื่อฝรั่งซึ่งปลูกบนที่สูงของประเทศไทย. งานเกษตรที่สูง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Aroua, A., Aissa, I. E., Mars, M., & Gouiaa, M. (2020). Sesonal variation of fig tree (Ficus carica L.) physiological charactristics reveals its adaptation performance. Suoth African Journal of Botany,132, 30-37.

Ferraz, R. A., Leonel, S., Souza, J. M. A, Ferreira, R. B., Modesto, J. H., & Arruda, L. L. (2020). Phenology, vegetative growth, and yield performance of fig in Southeastern Brazil. Pesquisa Agropecuaria Brasileira, 55.

Manago, N. (2006). In the Japanese Society for Horticultural Science (eds.). Horticulture in Japan Shoukadoh Publishing of Nakanishi Printing Co., Ltd. Fig:06-110.

Montserrat, P. (2012). Fig trees of the Balearic islands. Son Mut Nou experimentation field, Llucmajo. Mallorca.

Punsri, P., & Thongtham, M. L. C. (1983). Research on the common fig (Ficus carica L.). Exotic Fruit Production as a sudstitute for Opium Poppy in the Higlands of Thailand. (Semi-Annual Report for Aug. 1982-Jan. 1983), 1, 37-40.