การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าวปลาเสริมสาหร่ายพวงองุ่น

Main Article Content

อรอนงค์ ศรีพวาทกุล
มนทกานติ ท้ามติ้น
ประพัฒน์ กอสวัสดิ์พัฒน์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการอบแห้งสาหร่ายพวงองุ่นที่เหลือจากการตัดแต่งและศึกษาปริมาณสาหร่ายพวงองุ่นที่เหมาะสมในการทำผงโรยข้าวปลา โดยศึกษาการอบแห้งสาหร่ายด้วยวิธีการตากแดดและวิธีอบลมร้อนที่อุณหภูมิ 3 ระดับ คือ 50, 60 และ 70 องศาเซลเซียส พบว่า สาหร่ายพวงองุ่นอบแห้งมีค่าความชื้นอยู่ในช่วงร้อยละ 12.03 -12.31 ความเค็มอยู่ในช่วง 62-63 ppt และค่า aw อยู่ในช่วง 0.50-0.53 ซึ่งไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) สาหร่ายพวงองุ่นที่ตากแดดมีสีเขียวซีดและบางส่วนมีสีขาว แต่การใช้ตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิทั้ง 3 ระดับ สาหร่ายมีลักษณะที่ไม่แตกต่างกันโดยสาหร่ายอบแห้งมีสีเขียวเข้ม มีกลิ่นของสาหร่ายและรสชาติเค็ม ดังนั้นจึงเลือกการอบแห้งที่ 70 องศาเซลเซียสเพราะใช้เวลาน้อยที่สุด การศึกษาการใช้สาหร่ายพวงองุ่นอบแห้งในผงโรยข้าวปลาที่ระดับร้อยละ 2, 3 และ 4 โดยน้ำหนักของสูตรพื้นฐาน พบว่าปริมาณการใช้สาหร่ายพวงองุ่นมีผลต่อการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสของผงโรยข้าวด้านรสชาติและความชอบโดยรวม (p>0.05) สาหร่ายพวงองุ่นร้อยละ 3 ผู้บริโภคให้คะแนนการยอมรับมากที่สุด สูตรผงโรยข้าวปลาที่พัฒนาได้มีส่วนผสมจาก ปลานวลจันทร์ทะเลหยอง 34 กรัม หอมเจียว 14 กรัม กระเทียมเจียว 14 กรัม งาขาว 14 กรัม งาดำ 7 กรัม ซอสปรุงรส 7 กรัม ซีอิ๊วขาว 6 กรัม น้ำตาลทราย 3 กรัมผงปรุงรส 1 กรัมและสาหร่ายพวงองุ่นอบแห้ง 3 กรัม มีคะแนนความชอบโดยรวม 8.09 ในระดับชอบมากถึงชอบมากที่สุด มีค่าสี L* a* b* เท่ากับ 45.49 5.26 และ 23.09 ตามลำดับ ค่าปริมาณน้ำอิสระ (aw) เท่ากับ 0.34 สาหร่ายพวงองุ่นอบแห้งจะช่วยเพิ่มรสชาติและกลิ่นรสของสาหร่ายให้กับผงโรยข้าวแต่ถ้าใช้ในปริมาณที่มากจะทำให้ผงโรยข้าวมีรสชาติเค็มมากเกินไป 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกริกชัย ชีระปฏิยุทธ. (2552). ผลิตภัณฑ์ผงผักปรุงรสโรยข้าวแคลเซียมสูงจากไข่น้ำ (วอลฟ์เฟียกลอโบซ่า). (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

นพรัตน์ มะเห, มาโนช ขำเจริญ และ ดลฤดี พิชัยรัตน์. (2562). คุณค่าทางโภชนาการและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของสาหร่ายพวงองุ่น (caulerpa lentillifera) หลังการเก็บเกี่ยว. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 47(3), 478-489.

น้ำฝน ไชยลังการ. (2557). ผลกระทบของสภาวะและวิธีการอบแห้งต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสาหร่ายเตา. (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้).

ปราณี มีศิริสุข. (2553). เคมีอาหาร. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก.

พิชญอร ไหมสุทธิสกุล และ วิชมณี ยืนยงพุทธกาล. (2563). ผลของวิธีการลดความเค็มต่อสมบัติทางเคมีของสาหร่ายพวงองุ่น. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, 13(1), 92-101.

วลัย คลี่ฉายา และ สมยศ ราชนิยม. (2558). วิธีการจัดการและยืดอายุการเก็บรักษาคุณภาพสาหร่ายผักกาดทะเลและสาหร่ายไส้ไก่. รายงานผลการวิจัย, กองวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง.

วิไล รังสางทอง. (2547). เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.(2547). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สาหร่ายทะเลอบแห้ง(มผช515/2547). สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564, จาก hhtp://tcps.tisi.go.th/pub/tcps515_47.pdf.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2562). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ผงโรยข้าวจากสาหร่าย(มผช1512/2562). สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2563, จาก http://tcps.tisi.go.th/public/StandardList.aspx.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหาร. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564, จาก http://impexp.oae.go.th/service/report_product01.php?S_YEAR=2563&i_type=1&PRODUCT_ID=1273&wf_search=&WF_SEARCH=Y#4476.

สิริมา ชินสาร และ นิสานารถ กระแสร์ชล. (2562). การพัฒนากรรมวิธีการผลิตสาหร่ายพวงองุ่น อบแห้งคืนรูปเร็ว. รายงานผลการวิจัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุพล ตั่นสุวรรณ, มนทกานติ ท้ามติ้น และ สันติภาพ แซ่เฮ้า. (2555). สาหร่ายพวงองุ่น“Green Caviar”. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2563, จาก https://www.fisheries.go.th.

Matanjun, P., Mohamed, S., Mustapha, N. M., & Muhammad, K. (2009). Nutrient content of tropical edible seaweeds, Eucheuma cottonii, Caulerpa lentillifera and Sargassum polycystum. Journal of Applied Phycology, 21, 75–78.

Nagappan, T., & Vairappan, C. S. (2014). Nutritional and bioactive properties of three edible species of green algae, genus caulerpa (caulerpacrae). Journal of Applied Phycology, 26(2), 1019-1027.

Ratana-Arporn, P., & Chirapart, A. (2006). Nutritional evaluation of tropical green seaweeds Caulerpa lentillifera and Ulva reticulate. Kasetsart Journal (Natural Science), 40 (Suppl), 75–83.

Therdthai, N., & Zhou, W. (2009). Characterization of microwave vacuum drying and hot air drying of mint leaves (Mentha cordifolia Opiz ex Fresen). Journal of Food Engineering, 91(3), 482–489.