คุณสมบัติและแนวทางการพัฒนาวัสดุแร่ในท้องถิ่นใน 6 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

วัชรากร วงศ์คำจันทร์
ธนาวัฒน์ จูมแพง
เชาวลิต สิมสวย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติวัสดุแร่ที่มีแนวโน้มพัฒนาเป็นวัสดุอุตสาหกรรมในท้องถิ่น ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดยโสธร จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย และจังหวัดอุดรธานี การสำรวจโดยแบบสอบถามพบว่าข้อมูลวัสดุแร่
ในท้องถิ่นมีความจำเป็นในระดับมากถึงมากที่สุดร้อยละ 59.55 ในขณะที่การเข้าถึงข้อมูลวัสดุก่อสร้างในท้องถิ่นอยู่ในระดับน้อยถึงไม่มีเลยร้อยละ 51.91 ส่วนข้อมูลที่จำเป็นพบว่าแนวทางการใช้ประโยชน์มีความจำเป็นในระดับมากถึงมากที่สุดร้อยละ 65.51 วัสดุแร่ในท้องถิ่นเป้าหมายประกอบด้วยวัสดุ 6 กลุ่มหลักคือ ทรายก่อสร้าง ทรายแก้ว แร่วาริสไซต์ ดินเหนียว หินอุตสาหกรรม และแร่ดินขาว 


ในกรณีวัสดุกลุ่มทราย ทรายแก้ว REGS (ทรายแก้วร้อยเอ็ด) และ BKGS (ทรายแก้วบึงกาฬ) มีลักษะเป็นทรายเม็ดละเอียดสีขาวใสมีสารมลทินเจือปนอยู่เล็กน้อยแตกต่างจากทรายก่อสร้าง YSSA (ทรายยโสธร) BRSA (ทรายบุรีรัมย์) และ NKSA (ทรายหนองคาย) แต่มีแร่หลักคือแร่ควอตซ์ เหมือนกัน ส่วน REVC (แร่วาริสไซต์ร้อยเอ็ด) มีสายแร่เฮกซะโกนอลวาริสไซต์สีขาวเนื้อละเอียดมาก แทรกอยู่ในหินทรายจากแร่ควอตซ์ ในกรณี BRCL (ดินเหนียวบุรีรัมย์) มีลักษะเป็นดินเหนียวเม็ดดินเนื้อละเอียดมากประกอบด้วยโมโนคลีนิคควอตซ์ และไดอะสปอร์ กลุ่มหินอุตสาหกรรม BKSS (หินทรายบึงกาฬ) เป็นหินทรายเม็ดละเอียดสีแดง ประกอบด้วยผลึกควอตซ์แบบเฮกซะโกนอล ที่มีเหล็กออกไซด์เจือปนอยู่ BRBS (หินบะซอลต์บุรีรัมย์) ประกอบด้วยเม็ดผลึกแร่เนื้อละเอียดมากมีแร่แพลจิโอเคลสเฟลด์สปาร์กับผลึกควอตซ์ บางส่วน ในขณะที่หินปูนอุดรธานี UDLS1 และ UDLS2 มี แร่หลักคือเฮกซะโกนอลแคลไซด์สีเทาและผลึกควอตซ์ แร่ดินขาว UDKL (แร่ดินขาวอุดร) มีลักษณะเป็นแร่ดินเหนียวเม็ดละเอียดที่ประกอบด้วยแร่โมโนคลีนิคเมทาฮาลลอยไซต์จากผลการศึกษาดังกล่าวสามารถนำไปพิจารณาแนวทางในการพัฒนาวัสดุแร่เป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2563). รายงานการศึกษาการศึกษาแนวทางการจัดการเศษสิ่งก่อสรางสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ. 288 หน้า.

กรมทรัพยากรธรณี. (2552a). การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดร้อยเอ็ด. กรุงเทพฯ. 140 หน้า.

กรมทรัพยากรธรณี. (2552b). การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดหนองคาย. กรุงเทพฯ. 128 หน้า.

กรมทรัพยากรธรณี. (2552c). การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดอุดรธานี. กรุงเทพฯ. 98 หน้า.

กรมทรัพยากรธรณี. (2553a). การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดบุรีรัมย์. กรุงเทพฯ. 104 หน้า.

กรมทรัพยากรธรณี. (2553b). การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดยโสธร. กรุงเทพฯ. 82 หน้า.

คชินท์ สายอินทวงศ์. (2561). การเลือกใช้ดินสำหรับผลิตภัณฑ์เซรามิกชนิดต่างๆ. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2563, จาก http://www.thaiceramicsociety.com/rm_soil_ product.php.

คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ. 128 หน้า.

ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP. (2561). ดินขาว (Kaolin). สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2563, จาก http://www.sptn.dss.go.th/otopinfo/index.php/en/compiled-file/other-otop-product/142-kaolin.

วิชัย วรยศอำไพ. (2542). ทรัพยากรแร่ทรายในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: กองเศรษฐธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี.

สภาการเหมืองแร่. (2544). ทรายแก้ว. เหมืองแร่, 11, 1-27.

อรวรรณ ศรีคุ้มวงษ์. (2551). คุณสมบัติของดินที่ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิก. กรมวิทยาศาสตร์บริการ. 4 หน้า.

Brill, R., Hermann, C., & Peters, C. (1939). Studien über chemische Bindung mittels Fourieranalyse III. Naturwissenschaften, 27, 676-677.

Chatterjee, A. K., (2001). X-Ray Diffraction. In Ramachandran V. S. and Beaudoin J. J., eds. Handbook of Analytical Techniques in Concrete Science and Technology. William Andrew Publishing, Norwich, New York.

Grace, W. R. (2014). Aluminum Phosphate Product Stewardship Summary. Retrieved December 8, 2020 from https://grace.com/en-us/environment-health-and-safety.

Japakasetr, T. (1982). Phosphate in Thailand; Economic Geology Division, DMR. 7p.

Manning, D. G. (1992). The design life of structures, Design life of concrete highway structures—The North American scene. London: Blackie and Son, Ltd.

Sarkar, S. L., Aimin, X., & Jana, D. (2001). Scanning Electron Microscopy, X-Ray Microanalysis of Concretes, In Ramachandran V. S. & Beaudoin J. J., eds. Handbook of Analytical Techniques in Concrete Science and Technology. William Andrew Publishing, Norwich, New York.

Sheldon, R. P., (1984). Phosphate Resource Assessment and Exploration in Thailand. Thai Department of Mineral Resources, 52 p.

Simmons, W., & Stewart, D. (2006). Silica Mineral. Encyclopedia Britannica.

Wongkamjan, W., & Jumepaeng, T. (2020) Properties and Potential of Lao Kham Variscite’s Application in Chemically Bonded Phosphate Cement. International Journal of GEOMATE, 19(75), 35-41.