บทบาทของมอลโทรเดกซ์ตรินและสารช่วยตอกตรงในการพัฒนาตำรับยาเม็ดอมแก้ไอประสะมะแว้ง ซึ่งมีและไม่มีเกล็ดสะระแหน่ I: การเลือกสารช่วยตอกตรง

Main Article Content

กนกพร ระนาดแก้ว
สมบูรณ์ เจตลีลา
อัจฉรา แก้วน้อย
ศุภรัตน์ ดวนใหญ่
กัญจนภรณ์ ธงทอง

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกชนิดและปริมาณสารช่วยตอกตรง (DCFs) ที่เหมาะสม จากตำรับยาเม็ดของยาประสะมะแว้ง มาพัฒนาตำรับยาเม็ดอมแก้ไอที่มีคุณสมบัติทางกายภาพผ่านเกณฑ์ของความแปรปรวนน้ำหนักยาเม็ด (USP 40 <2091>, 2017) และผ่านเกณฑ์ยาอมเม็ดแก้ไอ คือความแข็ง > 5.5 กิโลกรัม ความกร่อน < 1.0% (USP 40 <1216>, 2017) เวลาละลายยาเม็ดในปาก > 30 นาที หลักสถิติที่นำมาทดสอบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของค่าคุณสมบัติทางกายภาพของยาเม็ดอมแก้ไอประสะมะแว้งตำรับต่างๆ คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวน ที่ p<0.01 และการเปรียบเทียบแบบพหุคูณเพื่อดูความมีนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่อยู่ติดกันซึ่งใช้วิธีเรียงลำดับค่า โดยวิธี Lease Significant Difference Procedure (LSD: 1.0% allowance ที่ gif.latex?\alpha =0.01, 2-tailed)


          เตรียมยาเม็ดอมแก้ไอประสะมะแว้งตำรับต่างๆ ที่ PVP K-90 ปริมาณ 3.0% โดยน้ำหนักเป็นสารยึดเกาะโดยใช้มอลโทรเดกซ์ตริน (MDX) ปริมาณ 0, 40, 80, และ 120 มิลลิกรัม/เม็ดยา ในขณะที่แต่ละ DCF คือ MCC PH-101 หรือ MCC PH-102 หรือไดเบสิคแคลเซี่ยมฟอสเฟตไดไฮเดรต (DCPD) ใช้ 200, 160, 80 และ 120 มิลลิกรัม/เม็ดยา ตามลำดับ พบว่าการเลือกใช้ MCC PH-102 และ DCPD ในปริมาณ 120 และ 80 มิลลิกรัม/เม็ดยา ให้ตำรับยาเม็ด 4 ตำรับที่เข้าเกณฑ์ยาเม็ดอมแก้ไอ และให้สัมประสิทธิ์ความแปรปรวนน้ำหนักที่ต่ำกว่า 2.0%

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองวิจัยทางการแพทย์. (2528). สมุนไพรพื้นบ้าน ตอนที่ 1: หน้า 15, 68, 72, 79, 81. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ยศเส.

ฑิตยา เย็นประสิทธิ์ และ สุกฤษฏิ์ แสงแก้ว. (2552). การพัฒนาตำรับยาเม็ดของยาประสะมะแว้ง. โครงการพิเศษส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหดิล.

คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. (2562). ยาประสะมะแว้ง ชนิดผง. บัญชียาจากสมุนไพรบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2562: หน้า 42.

มาลี บรรจบ. (2535). กระบวนการผลิตยาเม็ดแก้ไอขับเสมหะสูตรพัฒนาจากยาประสะมะแว้ง. ไทยเภสัชสาร, 16(1), 89-100.

วันทณี หาญช้าง. (2549). ฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านอาการคันของสารสกัดจากผลมะแว้งเครือ. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเภสัชศาสตร์ชีวภาพ, มหาวิทยาลัยมหิดล).

สมบูรณ์ เจตลีลา. (2556). ผลิตภัณฑ์สมุนไพรตอนที่ 2: มาตรฐานทางกายภาพของยาเม็ดสมุนไพร. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2561, จากhttp://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/154/.

Bolton, S. (2012). Statistics: Multiple comparison in ANOVA. In Troy DB. ed. Rhemington: The science and practice of pharmacy. 22nd ed. London: Pharmaceutical Press.

Chaerunisaa, A. Y., Sriwidodo, S., & Abdassah, M. (2019). Microcrystalline cellulose as pharmaceutical excipient. Pharmaceutical Formulation Design: Recent Practices. Retrieved 3 July, 2020.

Choursiya, S., & Andheriya, D. (2018). Review on Lozenges. Journal of Drug Delivery & Therapeutics, 8(6-A), 124-128.

Deb, P. K., Ghosh, R., Chakraverty, R., Debnath, R., Das, L., & Bhakta, T. (2014). Phytochemical and Pharmacological Evaluation of Fruits of Solanum indicum L. International Journal of Pharmaceutical Sciences Review and Research, 25(2), 28-32.

Jayakumar, K., & Murugan, K. (2016). Solanum Alkaloids and their Pharmaceutical Roles: A Review. Journal of Analytical & Pharmaceutical Research, 3(6), 75-89.

Landín, M., González, M. P., Souto, C., Concheiro, A., Gómez-Amoza, J. L., & Martínez-Pacheco, R. (1993). Comparison of two Varieties of Microcrystalline Cellulose as Filler-Binders II. Hydrochlorothiazide Tablets. Drug Development and Industrial Pharmacy,19, 1211-1220.

Kini, R., Rathnanand, M., & Kamath, D. (2011). Investigating the suitability of isomalt and liquid glucose as sugar substitute in the formulation of Salbutamol Sulfate hard candy lozenges. Journal of Chemical and Pharmaceutical Research, 3(4), 69-75.

Rowe, R. C., Sheskey, P. J., & Quin, M. E. (2009a). Calcium phosphate, dibasic dihydrate. Handbook of Pharmaceutical Excipients. London: RPS Publishing.

Rowe, R. C., Sheskey, P. J., & Quin, M. E. (2009b). Cellulose, microcrystalline. Handbook of Pharmaceutical Excipients. London: RPS Publishing.

The United States Pharmacopeia Convention. (2017). Tablet friability 1216. USP 40 The National Formulary. (p. 1749). Maryland: The United States Pharmacopeia Convention lnc.

The United States Pharmacopeia Convention. (2017). Disintegration of dietary supplements 2040. USP 40 The National Formulary. (p. 2270-2272). Maryland: The United States Pharmacopeia Convention lnc.

The United States Pharmacopeia Convention. (2017). Weight variation of dietary supplements 2091. USP 40 The National Formulary. (p. 2277-2278). Maryland: The United States Pharmacopeia Convention lnc.