ฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดหยาบจากสาหร่ายเตา

Main Article Content

สุทธวรรณ สุพรรณ
พลอยไพลิน สดมณี
ปัทมาภรณ์ คุ้มกัน
ศราวุธ ราชลี
ประดับรัฐ ประจันเขตต์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย ปริมาณโพลีแซคคาไรด์ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากสาหร่ายเตา (Spirogyrasp.) โดยใช้ตัวทำละลาย 2 ชนิด คือ เอทานอลและเมทานอล ผลการทดสอบฤทธิ์การยับยั้งแบคทีเรียด้วยวิธี Disk diffusion assay พบว่าสารสกัดหยาบจากสาหร่าย Spirogyra sp. ที่สกัดด้วยตัวทำละลายเมทานอลสามารถยับยั้งการเจริญของ Staphylococcusaureus ได้ดีที่สุดโดยมีขนาดบริเวณยับยั้งเฉลี่ยเท่ากับ 22.7 มิลลิเมตร จากการศึกษาค่า Minimal inhibitory concentration (MIC) พบว่าสารสกัดหยาบจากตัวทำละลายเมทานอล จากสาหร่าย Spirogyra sp. ให้ค่า MIC ต่ำที่สุดต่อเชื้อ S.aureus และ P.aeruginosa เท่ากันโดยมีค่าเท่ากับ 0.0625 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และค่า Minimal bactericidal concentration (MBC) พบว่าสารสกัดหยาบจากสาหร่าย Spirogyra sp. ไม่สามารถฆ่าแบคทีเรียได้ และการวิเคราะห์ปริมาณโพลีแซคคาไรด์พบว่าสาหร่าย Spirogyrasp. มีปริมาณโพลีแซคคาไรด์เท่ากับ 1.34±0.413 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง และการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่าสารสกัดหยาบจากสาหร่าย Spirogyrasp. พบว่า ปริมาณ inhibitory concentration at 50% (IC50) ของสารสกัดจากสาหร่ายSpirogyra sp. ที่สกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลมีค่าเท่ากับ 64.19 µg/ml และปริมาณ IC50 ของสารสกัดจากสาหร่าย Spirogyra sp ด้วยตัวทำละลายเมทานอลมีค่าเท่ากับ 64.15 µg/ml นอกจากนี้ผลการตรวจสอบปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มของสารประกอบ ฟีนอลิก พบว่าสารสกัดจากสาหร่าย Spirogyra sp. ที่สกัดโดยตัวทำละลายเมทานอล มีปริมาณสารประกอบ ฟีนอลิกทั้งหมดสูงสุด คือ 54.569±6.74 มิลลิกรัมสมมูล gallic acid (mg GAE) ต่อน้ำหนัก 100 มิลลิลิตร (mL)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฐิติกานต์ ปัญโญใหญ่. (2551).กิจกรรมต้านออกซิเดชันของสาหร่ายเตา Spirogyra neglecta (Hassall) KÜtzing. (วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่).

ปริญญา มูลสิน และ อมรรัตน์ วงษ์กลม. (2556). การศึกษาผลของการใช้สารสกัดจากสาหร่ายเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง. รายงานการวิจัย สาขาวิชาชีววิทยา และสาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. อุบลราชธานี

พรรณรัตน์ อกนิษฐาภิชาติ และ เบญจภรณ์ เศรษฐบุปผา. (2563). ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ปกป้องเซลลของสารสกัดจากผลพืชสกุลมะเขือ 4 ชนิด. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 16(1), 49-58.

ภารดี อินทจันทร์ และ วิภาเพ็ญ โชคดีสัมฤทธิ์. (2563). การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของเจลสารสกัดใบบัวบก 5% กับเจลคลินดามัยซิน 1% ในการรักษาสิว. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 27(1), 1-11.

ยุวดี พีรพรพิศาล. (2549). ศักยภาพของสาหร่ายน้ำจืดขนาดใหญ่ในการนำมาเป็นอาหารและยา. รายงานการวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. กรุงเทพฯ

ยุวดี พีรพรพิศาล, ฐิติกานต์ ปัญโญใหญ่ และ ดวงพร อมรเลิศพิศาล. (2555). ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของสาหร่ายเตา. วารสารวิทยาศาสตร มข. 40(1), 238-235.

รัตนา อินทรานุปกรณ์. (2550). การตรวจสอบและการสกัดแยกสารสำคัญจากสมุนไพร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนาภรณ์ จันทร์ทิพย์, ฐิติพรรณ ฉิมสุข, อรุณี คงดี และ ดวงพร อมรเลิศพิศาล. (2555). พฤกษเคมีและผลของตัวทำละลายต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิกของสาหร่ายเตา (Spirogyra sp.). ใน: การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ครั้งที่ 3, 23 พฤศจิกายน 2555. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 15-22.

รวิสรา รื่นไวย. (2563). การวิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิก และความสามารถต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากดอกเก๊กฮวย. วารสารนเรศวรพะเยา, 13(1), 16-20.

รชตะ รุ่งตระกูลชัย, วุฒิ สุขเจริญ, อนุพงศ์ อวิรุทธา และ วัชรินทร์ โชติชัยชรินทร์. (2562). การศึกษาและวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาตลาดที่ใช้สารสกัดจากธรรมชาติ. วารสารสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น : บริหารธุรกิจและภาษา, 7(1), 75-82.

อรรถพล อุทัยเรือง, รุจิลักขณ์ รัตตะรมณ์ และ คัทลียา เมฆจรัสกุล. (2563). การประยุกต์ทางเวชสำอางค์ของน้ำมันหอมระเหยว่านสาวหลงจากส่วนทั้งต้นและส่วนใต้ดิน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9(5), 680-692.

Alshididi, S. S. & Jawad, A. (2015). Antagonistic activity of Spirogyra micropunctata against some multidrug resistant human pathogenic bacteria. Iraqi Journal of Science, 56 (3C), 2494-2498.

Assawarachan, R., Nookong, M., Chailungka, N., & Amornlerdpison, D. (2013). Effects of microwave power on the drying characteristics, color and phenolic content of Spirogyra sp. Journal of Food, Agriculture & Environment, 11(1), 15-18.

Demina, N. S. & Lysenko, S. V. (1996). Collagenolytic enzymes synthesized by microorganisms. Mikrobiologiia, 65(3), 293-304.

Patil K. J., Patil, A. V., Mahajan, S. R., & Mahajan, R. T. (2011). Bio-activity of algae belonging to Bhusawal region, Maharashtra. Current Biology, 2(1), 29-31.

Surayot U., Wang J., Lee J. H., Kanongnuch C., Peerapornpisal Y. & You S. G. (2015). Characterization and immunomodulatory activities of polysaccharides from Spirogyra neglecta (Hassall) Kützing. Bioscience, Biotechnology, and Biochemistry, 79(10), 1644–1653.

Sitthiwong, N. (2019). Pigment and nutritional value of Spirogyra spp. in Sakon Nakhon, Nakhon Phanom and Mukdahan provinces. Science and Technology RMUTT Journal, 9(1), 10-21.

Tanna, b. & Mishra, A. (2019). Nutraceutical potential of seaweed polysaccharides: structure, bioactivity, safety, and toxicity. Comprehensive Reviews in Food Science and Food Safety, 18(3), 817-831.

Thumvijit, T., Inboot, W., Peerapornpisal, Y., Amornlerdpison, D., & Wongpoomchai, R. (2013). The antimutagenic and antioxidant properties of Spirogyra neglecta (Hassall) Kützing. Journal of Medicinal Plants Research, 7(34), 2494-2500.

Yosboonruang, A., Duangjai, A., Amornlerdpison, D., & Viyoach, J. (2020). Screening for Biological Activities of Spirogyra neglecta Water Extract. Walailak Journal of Science and Technology, 17(4), 359-368.