ผลของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วเขียว พันธุ์ชัยนาท 84-1 และพันธุ์ชัยนาท

Main Article Content

ภารดี แซ่อึ้ง
นารีภรณ์ สามิภักดิ์

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง ผลของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วเขียว วางแผนการทดลองแบบ 4x2 factorial in RCB (Randomized Complete Block) จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยที่ 1 อัตราการใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน 4 อัตรา คือ  0, 500, 1,000 และ 1,500 กิโลกรัมต่อไร่  ปัจจัยที่ 2 คือ พันธุ์ถั่วเขียว 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ชัยนาท 84-1 และพันธุ์ชัยนาท 6 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยในแต่ละกรรมวิธีด้วยวิธี Least Significant Difference (LSD) ผลการศึกษาพบว่า การเจริญเติบโตและผลผลิตไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในแต่ละอัตราการใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน และปฏิสัมพันธ์ระหว่างอัตราการใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและพันธุ์ของถั่วเขียว ให้ค่าการเจริญเติบโตและผลผลิตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่มีแนวโน้มว่า การใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินทำให้การเจริญเติบโตและผลผลิตมากกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน  สำหรับความแตกต่างของถั่วเขียวสองพันธุ์พบว่า ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 6 มีการเจริญเติบโตด้านจำนวนใบต่อต้น (25.83 ใบต่อต้น) และมีผลผลิตด้านจำนวนฝักต่อต้น (29.04 ฝักต่อต้น) จำนวนเมล็ดต่อต้น (192.26 เมล็ดต่อต้น) สูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 84-1

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ภารดี แซ่อึ้ง, Agriculture Program, Faculty of Science and Technology, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University, Pranakhon Si Ayutthaya, 13000

96 Preedee-panomyong rd. , Pratoochai District,

Faculty of Science and Technology, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University, Pranakhon Si Ayutthaya, 13000  

References

กรมวิชาการเกษตร. (2548). ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ. 2548. (2 มิถุนายน 2548). ราชกิจจานุเบกษา.

เกศกนก วงศ์ชยานันท์ และ คมกฤษณ์ แสงเงิน. (2563). ผลของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศเชอรี่. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 15(1), 115-123.

ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย. (2559). สรีรวิทยาพืชไร่. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

นันทวุฒิ จำปางาม. (2560). เทคโนโลยีปุ๋ยหมักไส้เดือนดินเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน. วารสาร วิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(2), 70-81.

เบญจมาศ บริสุทธิ์วณิชชน. (2544). ลักษณะทางการเกษตรและสรีรวิทยาที่สัมพันธ์กับการให้ผลผลิตถั่วเขียว. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ปริญญาวดี ศรีตนทิพย์, ชิติ ศรีตนทิพย์ และ ณัฐธยาน์ ธะวิไส. (2559). ผลของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินต่อสมบัติทางเคมีบางประการของดิน ผลผลิตส่วนที่บริโภคได้ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในผักเชียงดา. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์, 3(ฉบับพิเศษ), 50-56.

วนิดา ชัยชนะ. (2561). ประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของผักบุ้งจีน. วารสารเกษตรพระพิรุณ, 16(1), 81-90.

วิศรุต วิชัยวิทย์, เบญจมาศ รสโสภา และ กรรณิการ์สัจจาพันธ์. (2555). คุณภาพปุ๋ยมูลไส้เดือนดินที่ได้จากการย่อยสลายขยะอินทรีย์ประเภทต่างๆ โดยไส้เดือนดิน สายพันธุ์ Perionyx excavatus. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 30(2), 86-96.

วีณา นิลวงศ์ (2557). การศึกษาคุณภาพปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร. รายงานผลการวิจัย. โครงการย่อยภายใต้ชุดโครงการ: ศักยภาพของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินท้องถิ่นไทย ที่ผลิตจากขยะอินทรีย์ต่อระบบการเกษตรและสิ่งแวดล้อม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 60 หน้า

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมวิชาการเกษตร. (2563). สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 22-28 มิ.ย. 61. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.oae.go.th/view/1/28609/TH-TH.

สุวิมล ถนอมทรัพย์. (2558). รายงานชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาถั่วเขียว. กรมวิชาการเกษตร. 25 หน้า.

อานัฐ ตันโช. (2556). เกษตรธรรมชาติประยุกต์ แนวคิด หลักการ เทคนิคปฏิบัติในประเทศไทย. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์ทรีโอแอดเวอร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย.

Bajracharya, S. K., & Rai, S. K. (2009). Study on the Effects of Vermicompost on the Nodulation and the Yield of Chickpea. Nepal Agriculture Research Journal, 9, 49-55.

Biswash, R., Rahman, W., Haque, M., Sharmin, M., & Barua, R. (2014). Effect of potassium and vermicompost on the growth, yield and nutrient contents of mungbean (BARI Mung 5). Journal of Bioscience and Bioengineering, 1(3), 33-39.

Gadi, P., Dawson, J., & Shankar, M. (2017). Effect of different organic manures, inorganic fertilizers and growth regulator on yield attributes and yield of greengram (Vigna radiate L.). Agric. Update, 12 (TECHSEAR-6), 1567-1572.

Sriphadet, S., Christopher, J., Lambrides C. J., & Srinives P. (2005). Inheritance of Agronomic Traits and Their Interrelationship in Mungbean (Vigna radiate (L.) Wilczek). Journal of Crop Science and Biotechnology, 10(4), 249–256.

Tangsombatvichit, P., Chupong, S., Ketrot, D., & Boonlerthirun, K. (2016). The management of organic wastes produced vermicompost using earthworm Eudrilus eugeniae and effects of vermicompost on growth of Helianthus annuus. In: Proceedings of the 5th International conference on food, Agricultural and Biological Sciences (ICFABS-2016). December 25-26, 2016. Thailand.

Tarafder, S., Rahman, A., Hossain, A., & Chowdhury, A. H. (2020). Yield of Vigna radiata L. and Post-harvest Soil Fertility in Response to Integrated Nutrient Management. Agricultural and Biological Sciences Journal, 6(1), 32-43.