ผลของการใส่ปุ๋ยสังกะสีต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว กข61 ที่ปลูกในฤดูแล้งและฤดูฝน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของการใส่ปุ๋ยสังกะสีต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว กข61 ในจังหวัดสุโขทัย ได้ทำการปลูกข้าวเจ้าพันธุ์ กข61 ในฤดูนาปรังและนาปี ในปี 2561 วางแผนการทดลองแบบ RCBD ประกอบด้วย 6 ตำรับ ได้แก่ T1 คือ การไม่ใส่ปุ๋ยเคมี T2 คือ การใส่ปุ๋ยเคมีตามกรรมวิธีของกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ (50 กิโลกรัม/ไร่) T3 การใส่ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมการข้าว T4 การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน (App LDD) T5 การใส่ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมการข้าว +Zn 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร และ T6 การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน +Zn 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ผลการทดลองพบว่าในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของฤดูนาปรัง การใส่ T2 ส่งผลให้จำนวนหน่อ/กอ ที่ต้นข้าวอายุ 45 และ 90 วัน มีจำนวนมากที่สุด 23 หน่อ/กอ ขณะที่ T6 ส่งผลให้จำนวนเมล็ดดี/รวง และผลผลิต/ไร่ สูงที่สุด (67 เมล็ด และ 695 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ) รวมทั้งไม่พบการพักตัว/แข็งตัว ของเมล็ด ส่วน T5 ทำให้มีจำนวนเมล็ดลีบ/รวง น้อยที่สุดอยู่ที่ 14 เมล็ด ขณะที่การเน่า/ตาย ของเมล็ดพบน้อยที่สุดใน T1 ในส่วนของการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวในฤดูนาปีพบว่าที่อายุ 45 วัน การใส่ T5 ทำให้ค่าเฉลี่ยความสูงของต้นข้าวสูงที่สุดอยู่ที่ 86 เซนติเมตร ขณะที่เมื่อข้าวอายุ 90 วัน T4 ทำให้ต้นข้าวมีค่าเฉลี่ยความสูงมากที่สุด (102 เซนติเมตร) ส่วนการใส่ T2 ทำให้มีจำนวนหน่อ/กอ มากที่สุด (20 หน่อ/กอ) ขณะที่การใส่ T6 ทำให้มีจำนวนเมล็ดลีบ/รวง และการเน่า/ตาย ของเมล็ดน้อยที่สุด (7 เมล็ด และ 2 เมล็ดตามลำดับ) และได้ผลผลิตสูงที่สุดอยู่ที่ 951 กิโลกรัม/ไร่ รวมทั้งมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงที่สุดอยู่ที่ 96% และไม่พบการงอกผิดปกติของเมล็ดพันธุ์ข้าว
Article Details
References
คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. (2548). ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จีราภรณ์ อินทสาร. (2557). ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 325 หน้า.
นันทนา ชื่นอิ่ม, วิวัฒน์ อิงคะประดิษฐ์, สมชาย กรีฑาภิรมย์ และ นุษรา สินบัวทอง. (2553). การใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวตามค่าวิเคราะห์ดิน. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48, ระบุวันที่. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 325-332.
ปรีชา พราหมณีย์, ประจักษ์ ประเสริฐศักดิ์ และ จักรินทร์ ศรัทธาพร. 2544. การทดสอบการใช้ปุ๋ยเคมีในอ้อยตามค่าวิเคราะห์ดิน. ใน: รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2544. ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร. 1-28.
พัชรินทร์ ตุ้ยวงค์, เพ็ญนภา จักร์สมศักดิ์, เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม และ ขนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย. (2558). ผลของการพ่นสังกะสีที่ใบต่อผลผลิตการสะสมธาตุสังกะสีในข้าวกล้องของข้าวพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์ปรับปรุง. แก่นเกษตร, 43 (4), 605-612.
ยงยุทธ โอสถสภา, อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และ ชวลิต ฮงประยูร. (2558). ดิน ธาตุอาหาร และปุ๋ยข้าว. สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย. 454 หน้า.
อุชุกร พรหมมานนท์, อัจฉรา จิตตลดากร และ สุกัญญา แย้มประชา. (2556). ผลของสังกะสีซัลเฟตต่อการเจริญเติบโตและการสะสมสังกะสีในข้าวพันธุ์ชัยนาท 1. ใน: การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มสธ. ครั้งที่ 3. วันที่ 3-4 กันยายน 2556. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช, นนทบุรี. 1-13.
อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ. (2557). การจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนของข้าวที่ปลูกในดินชุดสรรพยา. วารสารเกษตร, 30(2), 133-140.
อรอนงค์ โฉมศิริ, นภสสร โนตศิริ และ กมรินทร์ พรหมรัน์รักษ์. (2555). ปริมาณจุลธาตุอาหาร ทองแดงและสังกะสีในดินเกษตรกรรมที่ระดับความอดุมสมบูรณ์ต่างกันในพื้นที่ภาคกลาง. กรุงเทพฯ: ส่วนวิจัยสิ่งแวดล้อม สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
Benton, J. J. (2003). Agronomic handbook: management of crops, soils and their fertility. USA; CRC press LLC.
Hafeez, B., Khanif, Y. M., & Saleem, M. (2013). Role of Zinc in Plant Nutrition- A Review. American Journal of Experimental Agriculture, 3(2), 374-391.
Dore, V., Koit, R. V., & Hanamaratti, N. G. (2018). Impact of Zinc Application on Morphological and Biophysical Parameters of Rice Genotypes in Pot Experiment. Advances in Research. 16(2), 1-7.
Li, S., Zhao, B., Yuan, D., Duan, M., Qian, Q., Tang, L., Wang, B., Liu, X., Zhang, J., Wang, J., Sun, J., Liu, Z., Feng, Y. Q., Yuan, L., & Li., C. (2013). Rice zinc finger protein DST enhances grain production through controlling Gn1a/OsCKX2 expression. Proceedings of the National Academy of Sciences (PANS). 110 (8), 3168-3172.
Naik, S. K., & Das, D. K. (2010). Evaluation of various zinc extractants in low land rice soil under the influence of zinc sulphate and chelated zinc. Communi. Soil Science. and Plant. Analysis., 41, 122-134.
Rehman, H. U., Aziz, T., & Farooq, M. (2012). Zinc nutrition in rice production systems: A review. Plant Soil, 361(1-2), 203–226. doi: 10.1007/s11104-012-1346-9.
Sudha, S., & Stalin, P. (2015). Effect of zinc on yield, quality and grain zinc content of rice genotypes. International Journal of Farm Sciences, 5(3),17-27.
Yilmaz, K., Saltali, K., Guzel, E. U. & Dikici, H. (2010). Zinc (II) sorption characteristics of soils in predominant smectite, illite and kaolinite clay minerals. Asian Journal of Chemistry. 22, 1487–1494.
Yoshida, S. (1981). Fundamental of Rice Crop Science. International Rice Research Institute, Los Baños, Laguna, Philippines, 269.