ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบอินทรีย์ แบบปลอดภัย และแบบเคมี ของเกษตรกรบ้านหนองโสกดาว ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

อรุณศักดิ์ ไชยอุบล
อรรถศาสตร์ วิเศียรศาสตร์
วิบูล เป็นสุข

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบอินทรีย์ แบบเคมี และแบบปลอดภัย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ เกษตรกรที่ปลูกข้าวในพื้นที่บ้านหนองโสกดาว ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จากทั้งหมด 331 ครัวเรือน มีผู้ทำการเกษตรทั้งสิ้น 180 ครัวเรือน เมื่อทำการสุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 
3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ปลูกข้าวแบบอินทรีย์ จำนวน 10 ราย แบบปลอดภัย จำนวน 21 ราย แบบเคมี 124 ราย ทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ 
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการ

ปลูกแบบข้าวอินทรีย์มากที่สุด คือ ด้านสุขภาพ และมีปัญหาในระดับมาก คือ ปัญหาตลาด ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบ GAP มากที่สุด คือ ด้านสุขภาพ และมีปัญหาในระดับมาก คือ ปัญหาตลาด ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการปลูกข้าวแบบเคมีในระดับมาก คือ ด้านทุน ด้านวิธีการผลิต ด้านแรงงาน และด้านตลาด โดยมีปัญหาในระดับมาก คือ ปัญหาด้านนโยบายของภาครัฐที่ไม่ส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกข้าวแบบเคมี ปัญหาด้านแรงงาน และปัญหาด้านการขาดความรู้ของเกษตรกรในการปลูกข้าวแบบอินทรีย์ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เชษฐกานต์ เหล่าสุนทร. (2560). แนวทางการพัฒนาศักยภาพชาวนาในการปลูกข้าวอินทรีย์ วิถีธรรมในจังหวัดเชียงราย. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 2(3), 16-28.

ทรรศวัฒน์ นัทธีเชาว์, พัชราวดี ศรีบุญเรือง และ สาวิตรี รังสิภัทร์. (2561). การตัดสินใจผลิต ข้าวสังข์หยดอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดพัทลุง. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 49(2), 168-178.

ธงชัย เสาสามา, สมจิต โยธะคง และ สุนันท์ สีสังข์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดีตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรในอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. ในการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับ บัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2 (น.1). มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

ยิ่งลักษณ์ กาญจนฤกษ์ และ Uzma Aslam. (2560). การยกระดับความยั่งยืนทางการเกษตรของเกษตรรายย่อย อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง. รายงานผลการวิจัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยุพิน เถื่อนศรี และ นิชภา โมราถบ. (2559). การพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ในจังหวัดอุตรดิตถ์: กรณีศึกษาตำบลวังกะพี้อำเภอเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง, 5(2), 116-132.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2561) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์: ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร. กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.oae.go.th/view/1/ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร /TH-TH.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563, จาก www.oae.go.th/view/1/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81/TH-TH.ห่วงโซ่การผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์. การเตรียมรับมือของชาวนา. สืบค้นจากwww.landaction.org/land/index.php?option=com_content&view=article&id=1744.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rded. New York: Harper and Row Publications.