การพยากรณ์ก๊าซที่เกิดจากการผลิตก๊าซชีวภาพด้วยวิธีบอกซ์-เจนกินส์

Main Article Content

พิมพ์พรรณ อำพันธ์ทอง
เสริมศิริ ปราบเสร็จ
ลลิตพัทธ์ สุขเรือน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาการพยากรณ์ก๊าซที่เกิดจากการผลิตก๊าซชีวภาพในจังหวัดสุพรรณบุรีด้วยวิธีบอกซ์-เจนกินส์ ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานทางเลือกที่ประกอบด้วย ก๊าซ CH4 ก๊าซ CO2 และก๊าซ H2S ตามลำดับ ข้อมูลก๊าซชีวภาพรายเดือนที่ใช้พยากรณ์รวม 8 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ. 2560 โดยแบ่งข้อมูลพยากรณ์ออกเป็น 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 ข้อมูลรายเดือนตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 จำนวน 84 ข้อมูล เพื่อนำไปสร้างตัวแบบพยากรณ์ก๊าซแต่ละชนิดและข้อมูลชุดที่ 2 รายเดือนในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 12 ข้อมูลนำไปพยากรณ์เทียบประสิทธิภาพกับค่าจริง ผลการศึกษาพบว่าตัวแบบพยากรณ์ของก๊าซ CO2 มีความเหมาะสมในการนำไปสร้างตัวแบบพยากรณ์มากที่สุดโดยมีค่าเปอร์เซ็นต์ค่าสัมบูรณ์คลาดเคลื่อน (MAPE) ต่ำที่สุดกว่าก๊าซชนิดอื่นและเมื่อนำตัวแบบไปใช้พยากรณ์ของก๊าซเปรียบเทียบพบว่าค่าที่ได้ใกล้เคียงกับค่าจริงของก๊าซชีวภาพ ดังนั้นวิธีบอกซ์-เจนกินส์จึงมีความเหมาะสมในการนำไปวิเคราะห์ข้อมูลอนุกรมเวลา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชม ปานตา และ ยุภาวดี สำราญฤทธิ์ (2560). การพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนรายเดือนในจังหวัดนครสวรรค์โดยใช้เทคนิคการพยากรณ์ทางสถิติ. วารสารวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์, 9(10), 127-142.

ชยกร สมศิลา, สิรภัทร เชี่ยวชาญวัฒนา และ คำรณ สุนัติ. (2553). ตัวแบบการพยากรณ์คุณภาพอากาศ กรณีศึกษา ข้อมูลคุณภาพอากาศในประเทศไทย. ใน:การประชุมทางวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 11, 12 กุมภาพันธ์ 2553. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. หน้า 247-258.

จินตพร หนิ้วอินปั๋น, บุญอ้อม โฉมที และ ประสิทธิ์ พยัคฆพงษ์ (2555). การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ 4 วิธี สําหรับความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดในภาคกลางของประเทศไทย. ใน: การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13, 17 กุมภาพันธ์ 2555. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. หน้า 281-290.

ดวงพร หัชชะวณิช (2556). การเปรียบเทียบตัวแบบการพยากรณ์ดัชนีราคาผู้บริโภครายเดือน: ตัวแบบบอกซ์-เจนกินส์และตัวแบบปรับให้เรียบเอกซ์โพเนนเชียล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 33(2), 100-113.

ณัฏฐวดี นิสัยมั่น (2554). การพยากรณ์ราคากุ้งขาวแวนนาไม ด้วยวิธีการของบอกซ์-เจนกินส์. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศศิธร โกฎสืบ และ กัลยา บุญหล้า (2559). การสร้างตัวแบบเพื่อการพยากรณ์ราคาข้าวหอมมะลิ. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์, 8(8), 49-60.

วรางคณา กีรติวิบูลย์ (2556). การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ระหว่างวิธีบอกซ์-เจนกินส์ วิธีการทำให้เรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลที่มีฤดูกาล อย่างง่าย และวิธีการพยากรณ์รวมสำหรับการพยากรณ์อุณหภูมิเฉลี่ยต่อเดือนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 18(2), 149-160.

วรางคณา กีรติวิบูลย์ และ เจ๊ะอัฐฟาน มาหิเละ (2554). ตัวแบบพยากรณ์ความเร็วลม ตามแนวชายฝั่งจังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยพลังงาน, 8(3), 63-72.

วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล และ จิราวัลย์ จิตรถเวช (2548). เทคนิคการพยากรณ์. กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.