ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของกุหลาบหนู (Rosa chinensis Jacq. var. minima Voss)

Main Article Content

ศิริรัตน์ พักปากน้ำ
สวิตา วันหวัง
มณฑารพ สุธาธรรม
ชเนศ วรรณะ
ธราธร ทีรฆฐิติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเพาะเลี้ยงตาข้างกุหลาบหนูบนอาหารกึ่งแข็ง  Murashige and Skoog (MS) 1962 ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต BA ความเข้มข้น 0, 1, 3 และ 5 มิลลิกรัมต่อลิตร เพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ ที่อุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียส ให้แสง 16 ชั่วโมงต่อวัน ความเข้มแสง 2000 ลักซ์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าชิ้นส่วนตาข้างที่เพาะเลี้ยงบนอาหาร MS ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต BA 3 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดยอดใหม่ที่มีความสมบูรณ์มากที่สุดเฉลี่ย 16.9 ยอดต่อชิ้นส่วน และให้ค่าเฉลี่ยความสูงยอดมากที่สุด 4.03 เซนติเมตร แตกต่างจากชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และจากการนำต้นกล้ากุหลาบหนูที่เกิดใหม่จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อย้ายออกปลูกในสภาพแวดล้อมภายนอก พบว่าต้นกล้าสามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดี เมื่อผ่านไป 6 สัปดาห์ โดยมีอัตราการรอดชีวิต 80 เปอร์เซ็นต์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนรี พงษ์ฉวี และ ณฐกร ประดิษฐ์สรรพ์. (2547). ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออนูเบียส. เอกสารวิชาการฉบับที่ 13/2547, สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด, กรุงเทพฯ: กรมประมง.

ฉัตรมณี สังข์สุวรรณ์, ศิริวรรณ บุรีคำ และ วิเชียร กีรตินิจกาล. (2551). อิทธิพลของ kinetin และ BA ที่มีต่ออการชักนําให้เกิดยอดของกวาวเครือขาว. วารสารวิทยาศาสตร์การเกษตร, 39(3), 508-511.

ไชยยันต์ ดวงคงทอง. (2545). กุหลาบตัดดอก Hybrid Tea (HT). นนทบุรี: สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม.

บุณณดา ยอดแก้ว, ศรีสุลักษณ์ ธีรานุพัฒนา ,อังคณา อินตา , สิริพร โรจน์อารยานนท์, กิตติศกัดิ์ โชติกเดชาณรงค์, จิราภรณ์ ปาลี และ ณัตฐิยา ชัยชนะ. (2563). การขยายพันธุ์อีหลืน (Elsholtzia communis (Collett&Hemsl.) Diels) โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 25(1), 90-101.

บุญยืน กิจวิจารณ์. (2547). เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

ภพเก้า พุทธรักษ์, รัฐพร จันทร์เดช และ วารุต อยู่คง. (2555). การขยายพันธุ์บอนสี กุหลาบหิน และคว่ำตายหงายเป็นโดยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. วิทยาศาสตร์ลาดกระบัง, 21(2), 1-15.

พีรเดช ทองอําไพ. (2529). ฮอร์โมนพืชและสารสงเคราะห์แนวทางการใช้ประโยชน์ในประเทศไทยพิมพ์. กรุงเทพ: หจก.ไดนามิคการพิมพ์.

รัตนา ขามฤทธิ์ และ อนัญญา กิ่งหลักเมือง. (2561). ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อการชักนำให้เกิดต้นและราก จากการเพาะเลี้ยงข้อกุหลาบหนู ในสภาพหลอดทดลอง. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 49, (ฉบับพิเศษ1), 287-290.

วรนัฐ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา (2562). การผลิตกุหลาบจิ๋วด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2563, จาก https://www.technologychaoban.com.

สุนทรียา กาละวงศ์, ศิริลักษณ์ บัวทอง, กาญจนา เหลืองสุวาลัย, เพ็ญแข รุ่งเรือง, วุฒิชัย ศรีช่วย และ อภิรดี เสียงสืบชาติ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการชักนำรากในหลอดทดลอง และการออกปลูกของต้นกล็อกซิเนีย (Sinningia speciosa). วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์, 6(1), 19-29.

สุภาวดี รามสูตร, นุรมา มะแร๊ะ และ อัลฮูสนา บายอ. (2560). ผลของซิลเวิอร์ไนเตรทต่อการชักนำดอกและการยืดอายุการบานของกุหลาบหนูในสภาพปลอเชื้อ. วารสารวิชชา, 36(1), 39-49.

สังคม เตชะวงค์เสถียร. (2542). ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของพืช. สาขาพืชสวน ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Farahani, F., & Shaker, S. (2012). Propagation and growth from cultured single node explants of rosa (Rosa miniature). African Journal of Plant Science, 6(10), 277-281.

Kim, C. K., Chung, J. D., Jee, S. O., & Oh, J. Y. (2003). Somatic embryogenesis from in vitro grown leaf explants of Rosa hybrida L. Afri. J. Plant Biotechnol, 5(3), 169-172.

Mok, D. W. S., & Mok, M. C. (2014). Plant Growth Hormone Cytokinins Control the Crop Seed Yield. American Journal of Plant Sciences, 5(14), 2179-2187.

Murashige, T., &Skoog, F. (1962). A revised medium for rapid growth and bio-assays with tobacco tissue cultures. Physiologia Plantarum, 15(1), 473-497.

Pikulthong, V., Phakpaknam, S., Dechkla, M., & Teerakathiti, T. (2018). Optimal medium for watercress (Alternanthera sp.) micropropagation. Suan Sunandha Science and Technology Journal, 5(2), 27-32.