การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์จำนวนนักท่องเที่ยวในปราสาทเมืองต่ำ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ทิพรดา วาลมุลตรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการพยากรณ์ที่เหมาะสมและสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์จำนวนนักท่องเที่ยวในปราสาทเมืองต่ำ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 132 ค่า ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 โดยแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 จำนวน 120 ค่า สำหรับศึกษาตัวแบบการพยากรณ์ทั้ง 5 วิธี คือ วิธีค่าถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ
ถ่วงน้ำหนัก วิธีปรับเรียบเอ็กซ์โพเนนเชียลแบบบราวน์ วิธีปรับเรียบเอ็กซ์โพเนนเชียลแบบโฮลท์ วิธีปรับเรียบเอ็กซ์โพเนนเชียลแบบวินเทอร์ วิธีแยกองค์ประกอบ และชุดที่ 2 ใช้ข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึงเดือน กันยายน พ.ศ. 2561 จำนวน 12 ค่า สำหรับการเปรียบเทียบกับค่าพยากรณ์ล่วงหน้าที่ได้และคัดเลือกตัวแบบที่มีความแม่นยำ และเกณฑ์ที่ใช้คือค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์  ผลการวิจัยพบว่า จากวิธีการพยากรณ์ทั้งหมดที่ได้ศึกษาวิธีที่เหมาะสมที่สุดคือ วิธีปรับเรียบเอ็กซ์โพเนนเชียลแบบวินเทอร์ และได้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์สำหรับการพยากรณ์จำนวนนักท่องเที่ยวในปราสาทเมืองต่ำ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิติพงศ์ อินทร์ทอง. (2556). การกำหนดเป้าหมายยอดขายที่เหมาะสม กรณีศึกษาสินค้าไฟเบอร์ซีเมนต์, ภาคนิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

กัลยา บุญหล้า. (2562). การพยากรณ์จำนวนนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า, วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์, 11(14), 1-8

ทรงศิริ แต้สมบัติ. (2549). การพยากรณ์เชิงปริมาณ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์

นิตินัย รุ่งจินดารัตน์ และ ศรัณย์ ทัศกานิเวศน์. (2562). การพยากรณ์อนุกรมเวลาแบบคลาสสิค: การส่งออกข้าวหอมมะลิของไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี วิทยาลัยดุสิตธานี, 13(2), 1-11.

ลักขณา เศาธยะนันท์, สุณี ทวีสกุลวัชระ, ยุพิน กาญจนะศักดิ์ดา และ บุญหญิง สมร่าง. (2557). การพยากรณ์จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยโดยใช้วิธีบอกซ์-เจนกินส์ และวิธีการของวินเตอร์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 1(22), 90-98.

วรางคณา กีรติวิบูลย์. (2556). ตัวแบบพยากรณ์ราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 4(38), 423-438.

วชิรารักษ์ โอรสรัมย์ และ วัชระ วงศา. (2562). แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อพยากรณ์ปริมาณขยะมูลฝอยในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองบุรีรัมย์. น. 1107-1118. ใน: รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 3, 1 กุมภาพันธ์ 2562.มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

อัจฉรา จันทร์ฉาย. (2557). เทคนิคการพยากรณ์เพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัครพงศ์ อั้นทและอง และ มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด. (2552). ความเป็นฤดูกาลของการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2(16), 32-47.