วิธีการเทียบเคียงสมรรถนะจากข้อจำกัดและเกณฑ์ต่าง ๆ สำหรับเทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเติบโตทางเศรษฐกิจในภาคพลังงานทดแทนจากแหล่งพลังงานที่มีความผันผวนและไม่แน่นอนสามารถทำให้น่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยผนวกเข้ากับระบบการจัดเก็บพลังงาน วัตถุประสงค์หลักของการศึกษานี้คือ การพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์เทียบเคียงสมรรถนะที่รู้จักกันในชื่อ วิธีมาตรฐานขอบเขตความเป็นเลิศ (NFB; Normalization of frontier of the best method) ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการเปรียบเทียบเกณฑ์หลายเกณฑ์เพื่ออำนวยความสะดวกในกระบวนการตัดสินใจและใช้ในการเลือกใช้เทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงานที่เหมาะสมในการใช้งาน ภายใต้ข้อจำกัดและเกณฑ์ต่าง ๆ วิธี NFB ที่ได้รับการพัฒนาแล้วได้ถูกตรวจสอบความถูกต้องโดยนำไปเทียบกับผลการจัดอันดับของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 2016 ประเภทกีฬาทศกรีฑา และตรวจสอบความแตกต่างโดยใช้วิธี Kendall rank correlation coefficient พบว่า มีค่า z ของทศกรีฑา เท่ากับ 5.3528 ซึ่งมีระดับความเชื่อมั่นสูงกว่า 99% เมื่อผลรับของการตรวจสอบเป็นที่พอใจ วิธีการ NFB จึงได้นำมาใช้เพื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงานภายใต้ 9 เกณฑ์ประสิทธิภาพและ 3 เกณฑ์ต้นทุน โดยจำแนกเทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงานออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ Electrochemical energy storage, Mechanical energy storage, Electrical energy storage, Thermal energy storage และ Chemical energy group storage และผลของการจัดอันดับของแต่ละกลุ่มเพื่อค้นหาเทคโนโลยีที่ดีที่สุดตามลำดับ คือ Li-ion, PHES (Pumped hydro energy storage), Supercapacitors, Thermal energy storage และ Chemical energy storage
Article Details
References
Andrews, J., & Jelley, N. (2013). Energy science; principles technologies and impacts. 2nd ed. Oxford, United Kingdom: Oxford university press.
Elton, J. C. (2004). Batteries, Overview, Encyclopedia of energy, vol. 1.
Gail, T. (2012). Our Finite World. Retrieved August 22, 2018 form https://ourfiniteworld.com/world-energy-consumption-since-1820-in-charts/.
Grigorios L. K., & Garyfallos, A. (2016). Electrical energy storage systems in electricity generation: Energy policies, innovative technologies, and regulatory regimes. Renewable and Sustainable Energy Reviews, 56, 1044-1067.
Hamidreza, Z., Anthony, S., William, R., & Marc, B. (2014). Energy Storage for Mitigating the Variability of Renewable Electricity Sources, in Energy Storage for Smart Grids. Calgary, Canada: Academic Press., 1-33.
Holasut, K. (2006). Benchmarking Analysis. Quality Assurance Journal KKU, 7(2), 17-27. (in Thai).
International Energy Agency. (2016). Renewables. Retrieved January 19, 2019 form http://energyatlas.iea.org/?subject=-1076250891.
Maurice, G. (1970). Kendall Rank Correlation Methods. 4nd ed. London: Charles Griffin & Company Limited 42 Drury Lane.
Mueller, C. S., Philipp, G. S., & Isabell M. W. (2014). Monitoring innovation in electrochemical energy storage technologies: A patent-based approach, Applied Energy, 137, 537-544.
Sportcalculators. (2016). Decathlon calculator. Retrieved October 30, 2019 form http://www.sportcalculators.com/decathlon-calculator.
The International Renewable Energy Agency (IRENA). (2013). Renewable Energy. www.etsap.org-www.irena.org. Retrieved June 24, 2019 form https://www.irena.org/DocumentDownloads/Publications/IRENAETSAP %20Tech%20Brief%20E17%20Thermal%20Energy%20Storage.pdf.
World nuclear association. (2016). Nuclear Essentails. Retrieved January 11, 2019 form http://www.world-nuclear.org/information-library/ country-profiles/countries-a-f/france.aspx.