ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟ่ากลูโคซิเดสและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ของตำรับยารักษาโรคเบาหวา
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคเบาหวานเป็นกลุ่มความผิดปกติที่ก่อให้เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย การศึกษาครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟ่ากลูโคซิเดสและการต้านอนุมูลอิสระ
ของสารสกัดตำรับยารักษาโรคเบาหวานของหมอพื้นบ้านในจังหวัดอุบลราชธานี โดยการสกัดสมุนไพรด้วยวิธีการหมักด้วยตัวทำละลายเอทานอล และวิธีการต้มแบบดั้งเดิมของหมอพื้นบ้าน และทำการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟ่ากลูโคซิเดส ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
และหาปริมาณสารประกอบฟีนอลิก พบว่าตำรับยาสูตร DM05 จากการสกัดด้วยเอทานอล มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟ่ากลูโคซิเดสสูงที่สุด (IC50=17.12±0.59 µg/mL) ส่วนสารสกัดด้วยวิธีการต้ม พบว่า สูตร DM09 มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ได้สูงที่สุด (IC50=21.12±0.54 µg/mL) และผลการต้านอนุมูลอิสระ พบว่า สารสกัดด้วยเอทานอลจากสูตร DM04 มีฤทธิ์สูงที่สุด ด้วยวิธี DPPH (IC50=41.26±1.45 µg/mL) ฤทธิ์ในการรีดิวซ์เฟอร์ริก (397.82±0.76 มิลลิกรัมเหล็กต่อน้ำหนักแห้ง 1 กรัม) และปริมาณสารประกอบฟีนอลิกสูงที่สุด (232.07±0.45 มิลลิกรัมกรดแกลลิคต่อน้ำหนักแห้ง 100 กรัม) แสดงให้เห็นว่าตำรับยารักษาโรคเบาหวานของหมอพื้นบ้านมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์แอลฟ่ากลูโคซิเดสและสารต้านอนุมูลอิสระ ดังนั้นควรมีการศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของตำรับยาสมุนไพรในระดับคลินิก เพื่อประโยชน์ต่อการรักษาผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ต่อไป
Article Details
References
จุราพร พงศ์เวชรักษ์. (2552). โรคเบาหวานและหลักการใช้ยาบำบัดเพื่อการบริบาลทางเภสัชกรรม. ภาควิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ หาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 39-41.
ธนากรณ์ ดำสุด, ฐิติกร จันทร์วุ่น, นมล ศรีเมฆ และ สุธรรม ส่งแสง. (2560). ฤทธิ์ต้านอนุมลูอิสระ และฤทธิ์ยับยั้งแอลฟากลูโคซิเดสของส่วนสกัดขนุนอ่อน. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 45(3), 543-550.
พัชรี สิริตระกูลศักดิ์, ประสิทธิ์ ชุติชูเดช, เบ็ญจวรรณ ชุติชูเดช, มาระตรี เปลี่ยนศิริชัย และ เกรียงศักดิ์ บุญเที่ยง. (2556). กิจกรรมสารต้านอนุมูลอิสระของดอกไม้กินได้ 15 ชนิด ในจังหวัดมหาสารคาม. แก่นเกษตร, 41(1), 607-611.
รวินิภา ศรีมูล, พิริยาภรณ์ อันอาตม์งาม และ วิทยา คณาวงษ์. (2561).ประสิทธิภาพการยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสและแอลฟาอะไมเลส ของสารสกัดจากใบชาขลู่ในหลอดทดลอง. วารสารวิจัย, 11(1), 1-8.
สมาคมเพื่อการวิจัยอนุมูลอิสระไทย (สวอ.). (2555). อนุมูลอิสระและสารต้านอนุมูลอิสระ. เชียงใหม่: สมาร์ท โคตติ้ง แอนด์ เซอร์วิส, 119-120.
สุคนธ์ ตันติไพบูลย์วุฒิ, เทียนชัย น่วมเศรษฐี และ เพชรลดา เดชายืนยง. (2555). ฤทธิ์ยับยั้ง แบคทีเรียของสารสกัดจากเปลือกผลไม้บางชนิด. วารสารวิจัย มข., 17(6), 880-894.
Adam, M. E., Sitti, F., Bich, T. N., & Yi, H. J. (2015). Analysis of major antioxidants from extracts of Myrmecodia pendans by UV/visible spectrophotometer, liquid chromatography/tandem mass spectrom etry, and high-performance liquid chromatography/UV techniques. Journal of Food and Drug Analysis, 23(2), 303-309.
American diabetes association. (2013). Diagnosis and Classification of Diabetes Mellitus. DIABETES CARE, 36, 67-74.
Bachhawat, A., Shihabudeen, M.S., & Thirumurugan, K. (2011). Screening of fifteen Indian Ayurvedic plants for alpha-glucosidase inhibitory activity and enzyme kinetics. International Journal of Pharmacy and Pharmaceutical Science, 3, 267-274.
Chetan J. B., & Gokul S.T. (2013). Potential anti-diabetic activity of Bombax ceiba. Bangladesh J Pharmacol., 8(2), 102-106.
Doss, A., & Dhanabalan, R. (2008). Anti-hyperglycaemic and Insulin Release Effects of Coccinia grandis (L.) Voigt Leaves in Normal and Alloxan Diabetic Rats. Ethnobotanical Leaflets, 12, 1172-1175.
International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas 8th edition. Retrieved August 22, (2019) from International Diabetes Federation Website: https://www. idf.org/aboutdiabetes/what-is-diabetes.html.
Kim, D. S., Kang, Y. M., Jin, W. Y., Sung, Y. Y., CHOI, G., & Kim, H. K. (2014). Antioxidant activities and polyphenol content of Morus alba leaf extracts collected from varying regions. Biomedical Reports, 2, 675-680.
Kunyanga, C. N., Imungi, J. K., Okoth, M. W., Biesalski, H. K., & Vadivel, V. (2012). Total phenolic content, antioxidant ant antidiabetic properties of methanolic extract of raw and traditionally processed Kenyan indigenous food ingredients. LWT - Food Science and Technology, 45, 269-276.
Sassi, A. B., Amroussi, S., Besbes, M., Aouni, M., & Skhiri, F. (2018). Antioxidant and α-glucosidase activities and phytochemical constituents of Chrysanthoglossum trifurcatum (Desf.). Asian Pacific Journal of Tropical Medicine, 11(4), 285-291.
Shobana, S., Sreerama, Y. N., & Malleshi, N. G. (2009). Composition and enzyme inhibitory properties of finger millet (Eleusine coracana L.) seed coat phenolics:Mode of inhibitor of alpha-Glucosidase and pancreatic amylase. Food chemistry, 115, 1268-1273.
Shindo, K., Kato, M., Kinoshita, A., Kobayashi, A., & Koike, Y. (2006). Analysis of antioxidant activities contained in the Boesenbergia pandurata Schult. Rhizome. Biosci Biotechnol Biochem, 70(9), 2281-2284.
Sontimuang, C., Olatunji, O.J., & Ovatlarnporn, C. (2018). Evaluation of In Vitro
α-Amylase and α-Glucosidase Inhibitory Potentials of 14 Medicinal Plants Constituted in Thai Folk Antidiabetic Formularies. Chemistry & Biodiversity, 15(4), 1-7.
Yoshikawa, M., Pongpiriyadacha, Y., Kishi, A., Kageura, T., Wang., T., Morikawa, T., & Matsuda, H. (2003). Biological Activities of Salacia chinensis Originating in Thailand: The Quality Evaluation Guided by a-Glucosidase Inhibitory Activity. YAKUGAKU ZASSHI-Journal of the Pharmaceutical Society of Japan, 123(10), 871-880.
Youwei, Z., Jinlian, Z., & Yonghong, P. (2007). A comparative study on the free radical scavenging activities of some fresh flowers in Southern China. Food Sci. Technol, 41, 1586-1591.