การศึกษาภูมินิเวศด้านการเกษตรของตำบลดงหม้อทอง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

นายอัครพงษ์ พวงพิลา
อรรจนา ด้วงแพง
นิตยา ไชยเนตร
โฉมยง ไชยอุบล
วินัย มีแสง
เอราวัณ เบ้าทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจภูมินิเวศการเกษตรด้านแหล่งน้ำและความอุดมสมบูรณ์ดินในพื้นที่ของตำบลดงหม้อทอง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร เพื่อจัดทำแผนพัฒนาด้านการเกษตรของตำบลดงหม้อทอง โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 
เป็นหมู่บ้านที่มีประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร มีเขตพื้นที่ติดต่อกันหรือการใช้ประโยชน์แหล่งน้ำร่วมกัน จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1, 5, 7 และ 11 ดำเนินการ
จัดเวทีชาวบ้านโดยมีผู้นำชุมชนหมู่บ้านละ 1 คน และเกษตรกรที่ผู้นำชุมชนคัดเลือกอีกหมู่บ้านละ 4 คน รวมจำนวน 20 คน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้บริบทด้านการเกษตร การสำรวจภูมินิเวศเกษตรด้านความจุและปริมาณน้ำในฤดูแล้งของแหล่งน้ำ จำนวน 22 แห่ง วิเคราะห์คุณภาพน้ำจำนวน 5 แห่ง และความอุดมสมบูรณ์ของดินจำนวน 11 แปลง พบว่า ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำเพื่อเป็นแหล่งอาหารจับสัตว์น้ำ แหล่งน้ำ จำนวน 18 แห่ง มีปริมาตรความจุรวม 6,092,195 ลูกบาศก์เมตร วัดปริมาณน้ำได้ในช่วงฤดูแล้ง (มีนาคม 2562) เท่ากับ 2,405,720 ลูกบาศก์เมตร ใช้น้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ทั้งหมด 18,884,309 ลูกบาศก์เมตร/ปี ซึ่งความต้องการใช้น้ำสำหรับการเกษตรมีมากกว่าความจุของแหล่งน้ำ
ในพื้นที่ น้ำในแหล่งน้ำมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินสามารถนำน้ำมาใช้เพื่อการเกษตร และการอุปโภคได้ การศึกษาความอุดมบูรณ์ของดินในพื้นที่ของเกษตรกร พบว่า ดินในพื้นศึกษามีความอุดมสมบูรณ์ต่ำถึงปานกลาง มีค่าความจุในการแลกเปลี่ยนไอออนบวก ปริมาณอินทรีย์ในดินและปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง      ดินเค็มเล็กน้อยถึงปานกลาง มีค่าความเป็นกรดเล็กน้อยถึงด่างจัด ปริมาณโพแทสเซียม
ที่แลกเปลี่ยนได้อยู่ในช่วงระดับต่ำถึงสูง แต่มีปริมาณไนโตรเจนระดับต่ำ ควรมีการบำรุงดินด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ และระหว่างการปลูกพืชควรใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเหมาะสมเพื่อส่งเสริม
การเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิต

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณภทัชา ชิดมะเริง, ปรียาพร โกษา และ ธนัช สขุวิมลเสรี. (2554). การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ตำบลพะเนา อำภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. เอกสารการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 16 มหาวิทยาลัยมหิดล วันที่ 18-20 พฤษภาคม 2554 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล.

บัญชา รัตนีท. (2555). ปุ๋ยอินทรีย์กับการปรับปรุงดินเสื่อมคุณภาพ. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 4(2), 115-127.

พัชรี ธีรจินดาขจร. (2554). คู่มือการวิเคราะห์ดินทางเคมี. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ยงยุทธ โอสถสภา. (บรรณาธิการ). (2558). ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว. กรุงเทพฯ: สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย.

ศิวพันธุ์ ชูอินทร์. (2553). รายงานการวิจัย เรื่อง แนวทางการจัดการคุณภาพน้ำในคลองอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน). (2560). คู่มือการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน).

สมพร คุณวิชิต, ยุพิน รามณีย์ และ บัญชา สมบูรณ์สุข. (2558). รานงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับวิถีชีวิตของมนุษย์: ศึกษาผลกระทบและการปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม

สัมพันธ์ พลันสังเกต, วรากร วิศพันธ์ และ วิภา พลันสังเกต. (2545). รายงานการวิจัย เรื่อง การวิเคราะห์คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำเพื่อการประปา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง. พัทลุง: มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะวิทยาศาสตร์

American Public Health Association, American Water Works Association, Water Environment Federation. (2012). Standard methods for the examination of water and wastewater, 22 nd ed. New York: American Public Health Association

Bower, C.A. & Wilcox, L.V. (1965). Soluble Salts, pp. 933-951, In A.I. Page, Ed. Methods of Soil Analysis. Part 2, Chemical and Microbiological Properties, Agronomy No. 9, 2 nd ed. American Society of Agronomy, Madison, WI.

Bray, R.H. and Kurzt, L.T. (1945). Determination of total, organic and available form of phosphorus in soils, Soil Scienc, 59: 39-45.

Chapman, D. D. (1965). Total Exchangeable Bases, pp. 902-904, In A.I. Page, Ed. Methods of Soil Analysis. Part 2, Chemical and Microbiological Properties, Agronomy No. 9, 2 nd ed. American Society of Agronomy, Madison, WI.

Jackson, M. L. (1958). Soil Chemical Analysis. NJ: Prentice-Hall, Inc., Englewmd Cliffs.

Walkley, A. & Black, I. A. (1934). An Examination of Degtjareff method for Determining Soil Organic Matter and a Proposed Modification of the Chromic Acid Titration Method, soil Science, 37, 29-37.