การพัฒนาแอปพลิเคชันการเรียนรู้ เรื่อง ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน

Main Article Content

สุทธิกานต์ บ่อจักรพันธ์
เอกรัตน์ เชื้อวังคำ
สุริยา ดีรักษา
วรพงศ์ มาลัยวงษ์

บทคัดย่อ

            การพัฒนาแอปพลิเคชันการเรียนรู้ เรื่องระบบย่อยอาหารของมนุษย์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันการเรียนรู้ เรื่องระบบย่อยอาหารของมนุษย์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยแอปพลิเคชันการเรียนรู้ 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแอปพลิเคชันการเรียนรู้ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อแอปพลิเคชันการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนโรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน โดยวิธีการเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1) แอปพลิเคชันการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน เรื่อง ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแอปพลิเคชันการเรียนรู้ เรื่อง ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน สถิติที่ใช้มีค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test 


            ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันการเรียนรู้ เรื่อง ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน  มีค่าเท่ากับ  86.00/80.50  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแอปพลิเคชันการเรียนรู้เรื่อง ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ .05 ค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6618 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 66.18  ซึ่งสูงกว่าร้อยละ 50 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันการเรียนรู้เรื่อง ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือน พอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.74

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยวัฒน์ สุทธรัตน์. (2558). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นนทบุรี: พีบาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพระบรมราชูปถัมภ์.

มานพ สว่างจิต และ ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2557). การพัฒนาสื่อความจริงเสมือน วิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. วารสารเทคโนโลยีการศึกษาและมีเดียคอนเวอร์เจนซ์, 1(2), 87-95.

วารุณี ชุมภูปีก. (2556). การสร้างและพัฒนาชุดจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องอุบัติเหตุในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี).

อำนาจ ชนพิทักษ์. (2555). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องอุปกรณ์ทำงานและวาล์วในระบบนิวแมติกส์ระหว่างการใช้ชุดการเรียนเสมือนจริงกับการปกติ. (ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี).