โคมไฟแอลอีดีกำลังสูงสำหรับรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

Main Article Content

ณัทกร เกษมสำราญ
ปราการ ทัตติยกุล
นรรัตน์ วัฒนมงคล

บทคัดย่อ

         ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดคือภาวะที่เมื่อมีปริมาณสารบิลิรูบินซึ่งเป็นสารสีเหลืองที่อยู่ในเลือดสูงกว่าปกติ มีผลต่อพัฒนาการทางสมองของทารกอย่างมาก การรักษาทางการแพทย์นิยมใช้วิธีการส่องไฟ ซึ่งมีความเสี่ยงในการรักษาน้อยกว่าวิธีอื่นและให้ผลการรักษาที่ดี


งานวิจัยฉบับนี้นำเสนอการพัฒนาโคมไฟแอลอีดีกำลังสูงสำหรับรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด โดยคุณสมบัติของโคมไฟจะให้แสงที่มีช่วงความยาวคลื่น 450-460 นาโนเมตร ใช้กำลังไฟฟ้าสูงสุด 36 วัตต์ ใช้กับแหล่งจ่ายไฟได้ทั้งไฟฟ้ากระแสสลับ 220 โวลต์ และไฟฟ้ากระแสตรง 12 โวลต์ หน้าจอแสดงผลแบบแอลซีดีซึ่งนำมาใช้แสดงค่าความเข้มแสงเชิงสเปกตรัม บันทึกอายุการใช้งานของหลอดไฟ อุณหภูมิภายในตัวโคมไฟ สถานะ การทำงานของพัดลมระบายความร้อน และวัน-เวลาในปัจจุบัน โคมไฟแอลอีดีที่นำเสนอในงานวิจัยนี้ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติทางแสงของโคมไฟแอลอีดีจากสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ จากผลการทดสอบพบว่า โคมไฟแอลอีดีสามารถให้ความเข้มแสงเชิงสเปกตรัมโดยเฉลี่ยมากกว่า 30 ไมโครวัตต์ต่อตารางเซนติเมตรต่อนาโนเมตร (µW/cm2/nm) ที่ระยะห่างจากเด็กทารก 30 เซนติเมตร ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการรักษาทารกตัวเหลือง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์ และ วีณา จีระแพทย์. (2540). ประสิทธิภาพของเครื่องส่องไฟศิริราชในการลดระดับบิลิรูบินในพลาสมา. วารสารกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช. 36(4), 284-290.

จรูญ เวชพงษ์ และ ประเสริฐ สุวรรณอุดมลาภ. (2558). สิทธิบัตรไทย เลขที่ 1503001073. กรุงเทพฯ: กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์.

ธวัช แก้วกัณฑ์. (2558). สิทธิบัตรไทย เลขที่ 1503001132. กรุงเทพฯ: กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์.

บุษบา บุญกระโทก, รัตนา รองทองกูล, ศิรินารถ ศรีกาญจนเพริศ, และ สุนทรี นํ้าใจทหาร. (2550). ความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญของมารดาที่มีบุตรตัวเหลืองซึ่งได้รับการส่องไฟรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร, 22(2), 133-138.

สถิติหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. (2551). สถิติทารกแรกเกิดตัวเหลืองปี พ.ศ. 2548-2550. กรุงเทพ: สถิติหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี.

อรุณี เจตศรีสุภาพ. (2560). ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิดและเด็กเล็ก (Neonatal hyperbilirubinemia / Neonatal jaundice). สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2561, จาก https://haamor.com/th/ภาวะตัวเหลืองในเด็ก/.

Ambalavanan N. R. & Carlo W. A. (2016). Jaundice and Hyperbilirubinemia. Nelson Textbook of Pediatrics. 20th ed. Philadelphia (US): ELSEVIER; 2016. pp. 871–875.

American Academy of Pediatrics (AAP, 2004). Section on Bilirubin Screening and Management of Hyperbilirubinemia.

Atkinson, L. R., Escobar, G. J., Takayama, J., & Newman, T. B. (2003). Phototherapy use in jaundiced newborns in a large managed care organization: Do clinician adhere to the guidelines?. Pediatrics, 111, 555-561.

Tiwari, N., Jha, S., & Beniwal N. (2016). GE Lullaby LED Phototherapy System. Retrieved March 10, 2018, from https://www.colmed.in/pediatrics-accessories/ge-lullaby-led-phototherapy-system.html