ความหลากหลายทางชีวภาพระดับชนิดและการใช้ประโยชน์ของไม้ต้นในเขตป่าชุมชนโคกกุง ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

เอื้อมพร จันทร์สองดวง
ดาริกา โพธิ์ศรี
อรอนงค์ น่าบัณฑิต

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพระดับชนิด ความสำคัญทางนิเวศวิทยา และศึกษาการใช้ประโยชน์จากไม้ต้นในเขตป่าโคกกุง ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยทำการศึกษาระหว่างเดือนสิงหาคม 2559 ถึงเดือน มกราคม 2560 ผลการศึกษาพบไม้ต้นทั้งหมด 79 ชนิด 59 สกุล 35 วงศ์ ค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ (Shannon Weiner’s Index: H') 1.38 ค่าดัชนีความสม่ำเสมอ (Evenness Index) 0.32 โดยพบวงศ์ Rubiaceae มากที่สุด จำนวน 9 ชนิด รองลงมา คือ วงศ์ Dipterocarpaceae จำนวน 7 ชนิด ตามลำดับ ไม้ต้นที่มีค่าดัชนีความสำคัญ (Important Value Index: IVI) สูงที่สุดคือ กุง (Dipterocarpus Tuberculatus Roxb.) 67.38% โดยมีค่าความเด่นสัมพัทธ์ (Relative Dominance: RDo) ค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์ (Relative Density: RD), และค่าความถี่สัมพัทธ์ (Relative Frequency: RF) สูงที่สุด คือ 39.80%, 17.12% และ 10.47% ตามลำดับ การศึกษาการใช้ประโยชน์พบไม้ต้นที่นำไปใช้ประโยชน์ทั้งหมด 69 ชนิด (87.34%) ของชนิดของไม้ต้นทั้งหมด โดยพบว่าการใช้ประโยชน์จากไม้ต้น สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท มากที่สุดคือใช้เป็นเชื้อเพลิง 59 ชนิด (85.51%) ใช้เป็นอาหาร 40 ชนิด (57.97%) ใช้เพื่อก่อสร้าง 39 ชนิด (56.52%) และใช้เป็นพืชสมุนไพรหรือยา 27 ชนิด (39.13%) ตามลำดับ พืชที่มีค่ารายงานการใช้ (Use Value index: UV) สูงสุดของชุมชนที่อยู่รอบ ๆ ป่า คือ แดง (Xylia xylocarpa (Roxb.) Taub.) มีค่า UV เท่ากับ 0.90 นอกจากนี้ยังพบว่าพบพรรณไม้ที่หายากตามบัญชีรายชื่อของพืชหายากในประเทศไทย จำนวน 1 ชนิด คือคำมอกหลวง (Gardenia sootepensis Hutch.) ซึ่งชาวบ้านใช้ประโยชน์ในด้านการเป็นพืชสมุนไพรสำหรับหญิงหลังคลอด และเป็นเชื้อเพลิงได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมป่าไม้. สำนักแผนงานและสารสนเทศ. (2554). ข้อมูลสถิติกรมป่าไม้. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2560, จาก http://forestinfo.forest.go.th/Content/file/ebook 2554.pdf

กรมป่าไม้. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้. (2557). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (Thai Plant Names) เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ประชาชนจำกัด.

ฉลาดชาย รมิตานนท์, อานนท์ กาญจนพันธุ์ และ สัณฐิตา กาญจนพันธุ์. (2536). ป่าชุมชนในประเทศไทย : แนวศึกษาการพัฒนา เล่ม 2 ป่าชุมชนภาคเหนือ : ศักยภาพขององค์กรชาวบ้านในการจัดการป่าชุมชน . กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชน ท้องถิ่นพัฒนา.

เทียมหทัย ชูพันธ์ และ วิไลลักษณ์ ซูมสไตอินน์. (2558). ความหลากหลายของพรรณไม้ในวนอุทยานภูผาล้อม อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2560, จากhttp://www.thaiscience.info/journals/Article/JSMU/10970854.pdf.

ธวัชชัย สันติสุข. (2555). ป่าของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

นฤมล กูลศิริศรีตระกูล, เพ็ญพร วินัยเรืองฤทธิ์, ปาจรีย์ ชูประยูร และ สินเดิม ดีโต. (2556). ความหลากของชนิดและการใช้ประโยชน์ของพรรณไม้:ป่าชุมชนบ้านท่าทองแดง ตำบลนาโบสถ์ อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, ฉบับพิเศษ(5), 98-105.

นิรุต ไผ่เรือง และ รัชชานนท์ พรหมฉิม. (2557). ลักษณะทางสังคมของไม้ต้นในสวนวนเกษตรบ้านหล่ายโพธิ์ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: สาขาวิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปิยะนุช ห่อดี พจมาน นันทสิทธิ์ และ รัฐพล ศิริอรรถ. (2558). ความหลากหลายทางชีวภาพระดับชนิดของไม้ต้นและองค์ความรู้ในการใช้ประโยชน์จากพืช ในเขตป่าอนุรักษ์ วัดป่าพรหมประทาน บ้านน้ำคำ ตำบลโนนชัยศรี อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. โครงงานวิจัยวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

เสน่ห์ จามริก และ ยศ สันตสมบัติ. (2536). ป่าชุมชนในประเทศไทย: แนวทางการพัฒนา เล่ม 3 ป่าชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชน ท้องถิ่นพัฒนา.

หทัยกาญจน์ ทวีทอง. (2560). ป่าชุมชนกับความมั่นคงด้านเศรษฐกิจระดับครัวเรือน. วารสารรัชต์ภาคย์, 11(23), 24-31.

อุทิศ กุฏอินทร์. (2542). นิเวศวิทยาพื้นฐานเพื่อการป่าไม้. กรุงเทพฯ: ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Cotton, C. M. (1996). Ethnobotany principles and applications. New York: John Wiley & Sons., Inc.

Hill, M. O. (1973). Diversity and Evenness: A unifying notation and its consequences. Ecological, 54, 427-432.

Martin, G. J. (1995). Ethnobotany: A method manual. London: Chapman & Hall.

Office of Environmental Planning and Policy (OEPP). (1992). Report on Status of Fauna and Flora of Thailand. Bangkok: Ministry of Science Technology and Environment.

Shannon, C. E. & Weaver, W. (1949). The Mathematical Theory of Communication. Urbana: Illinois Press University.