ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางกายและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ธนัมพร ทองลอง

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางกายและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดอุดรธานี ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 โดยใช้แบบสอบถามกิจกรรมทางกาย และแบบสอบถามคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับปานกลางและคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง และกิจกรรมทางกายมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับปานกลางซึ่งมีประโยชน์อย่างมากต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2559). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL–BREF–THAI). กรุงเทพมหานคร.

กาญจนา ปัญญาธร. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดอุดรธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22(2), 24-36.

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ. (2559). ความสัมพันธ์ของกิจกรรมทางกายกับสุขภาวะทางจิต สังคม และจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ 3 กลุ่มวัย. ฉะเชิงเทรา:คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ชาญชัย เรืองขจร. (2550). ระเบียบวิธีวิจัย. สงขลา: เทมการพิมพ์.

ชุมพร ฉ่ำแสงและคณะ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากรฝ่ายการพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดนครนายก. นครนายก: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นันท์พร จิตร์เพ็ชร. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. สาขาวิชาสุขศึกษา ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

โปรดปราน เพชนสด. (2558). แนวโน้มพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อลองรับสังคมผู้สูงอายุ ชุมชนบ้านจำรุง จังหวัดระยอง. ระยอง: ภาควิชาการจัดการบริหารธุรกิจมหาบันฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ปิยภรณ์ เลาหบุตร. (2557). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมขนหมู่ 7 ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบจังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: ภาควิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

มินตรา สาระรักษ์. (2558). การส่งเสริมกิจกรรมทางกายในวัยสูงอายุ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 17(1), 24-35.

วัชพลประสิทธิ์ ก้อนแก้ว. (2557). พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเทศบาลตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมืองชลบุรี. ชลบุรี: ภาควิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วีระวัฒน์ แซ่จิ้ว. (2559). กิจกรรมทางกายและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายในจังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: ภาควิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล. (2550). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุด 100 ตัวชี้วัด. จังหวัดเชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง

สมจิตต์ ศิริวนารังสรรค์ และ เสน่ห์ แสงเงิน. (2558). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชนบท จังหวัดสุโขทัย.วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย.

สำนักงานสถิติ จังหวัดอุดรธานี. (2559). ข้อมูลสถิติจากการสำมะโน/สำรวจ/รายงานสถิติจังหวัด/สำรวจพิเศษ. อุดรธานี.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร. (2557). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ.

สุขสนั่น อินทะไชย์. (2548). การศึกษาการให้บริการประชาชนด้านการออกกำลังกายในสนามกีฬาจังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุชาดา ทวีสิทธิ์ และ สวรัย บุณยมานนท์. (2553). ประชากรและสังคม 2553. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

Pender, N. J. (1966). Health promotion in nursing practice. 3rd ed. Stamford: Appleton.

Yamane, T. (1973.) Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. New York: Harper and Row Publication.