การเสริมคุณค่าทางโภชนาการโดยใช้ผงผักโขมในคุกกี้เนย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเสริมคุณค่าทางโภชนาการโดยใช้ผงผักโขมในคุกกี้เนย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การเตรียมผงผักโขมที่เหมาะสม ศึกษาการใช้ผงผักโขมต่อปริมาณแป้งสาลีในผลิตภัณฑ์คุกกี้เนย และศึกษาทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ โดยมีปริมาณอัตราส่วนของผงผักโขมต่อแป้งสาลีในคุกกี้เนยที่ 4 ระดับ คือ ร้อยละ 2:98, 4:96, 6:94 และ 8:92 คิดจากน้ำหนักแป้งสาลีทั้งหมด จากนั้นประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสโดยวิธีการให้คะแนนความชอบ 9-point hedonic scale ทำการวิเคราะห์ความแปรปรวน ANOVA เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วย Duncan’s New Multiple Range test และนำผลิตภัณฑ์มาวิเคราะห์คุณลักษณะ ทางกายภาพ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า การผลิตผงผักโขม โดยการตัดแต่งเอาเฉพาะใบนำมาลวกในน้ำเดือด 1 นาที แล้วแช่น้ำเย็นทันที อบอุณหภูมิที่ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1.30 ชั่วโมง ที่ตู้อบลมร้อน เมื่อแห้งนำมาปั่นให้ละเอียดร่อนผ่านตะแกรง 80 แมซ เมื่อนำผสมลงในคุกกี้เนยสามารถใช้ผงผักโขมต่อแป้งสาลีได้ ร้อยละ 6:94 (15 กรัม) ลักษณะที่ได้มีสีและกลิ่นที่พอเหมาะ มีรสชาติกลมกล่อม เนื้อสัมผัสกรอบร่วน และยังคงลักษณะที่ดีของคุกกี้เนย อีกทั้งเมื่อทดสอบทางกายภาพด้านค่าสีของคุกกี้ผงผักโขมมีค่าความสว่างน้อยกว่าคุกกี้เนยสูตรพื้นฐานส่วนค่า aw ไม่มีความแตกต่างกันจึงทำให้ไม่มีผลต่ออายุการเก็บ ส่วนค่าความแข็ง และค่าความแตกหัก ไม่มีความแตกต่างกัน
Article Details
References
ธีรนุช ฉายศิริโชติ. (2547). คุกกี้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นาคาอินเตอร์มีเดีย.
นันท์ชนก นันทะไชย, ปทุมวัน เมธา, อนุสรา พาที และ นลิตา บู่ทอง. (2558). ผลของการเสริมใบหม่อนต่อคุณภาพของคุกกี้เนย. วิทยาศาสตร์เกษตร, 46(3), 293-296.
นราธิป ปุณเกษม. (2557). การพัฒนาคุกกี้เนยสดจากเนยสวนดุสิตเสริมใยอาหารจากอัลเบโดของส้มโอ. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
พรพล รมย์นุกูล. (2545). การลวก. การถนอมอาหาร. กรุงเทพมหานคร: โอเดียน.
เพลินพิศ แจ้งโพธิ์นาค, ฉันทนา คำภาหมี และ ภูวดล นุปทุม. (2558). การพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้ลดไขมันเสริมฟักข้าว. วิทยาศาสตร์เกษตร, 46(3), 870-872.
รพีพรรณ ใจภักดี. (2544). ผักใบ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: แสงแดดเพื่อนเด็ก.
สุคนธ์ชื่น ศรีงาม. (2546). วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.