การออกแบบและสร้างเก้าอี้การยศาสตร์สำหรับห้องเรียนบรรยาย
Keywords:
การออกแบบและสร้าง, เก้าอี้, การยศาสตร์, ห้องเรียนบรรยาย, Design and Instruction, Chair, Ergonomics, Classroom LecturesAbstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเก้าอี้การยศาสตร์สำหรับห้องเรียนบรรยายซึ่งใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชายทั้งหมด 86 คน มาจากการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาลำปาง โดยให้นักศึกษาประเมินระดับความไม่สบายในร่างกายแต่ละส่วน พบว่า นักศึกษารู้สึกไม่สบายในร่างกายส่วนหลังส่วนล่าง 4.46 หลังส่วนบน 3.38 ต้นขา 3.32 เข่า 3.27 ไหล่ 3.25 และคอ 3.17 ตามลำดับ จากนั้นได้ออกแบบและสร้างเก้าอี้ให้เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์และให้มีท่าทางที่มีความปลอดภัย สำหรับการออกแบบใช้ข้อมูลสัดส่วนร่างกายของนักศึกษาจำนวน 12 ตำแหน่งเป็นเกณฑ์ในการออกแบบ หลังการปรับปรุงเก้าอี้ปรากฏว่านักศึกษารู้สึกไม่สบายในร่างกายส่วนหลังส่วนบน 1.80 ต้นขา 1.67 หลังส่วนล่าง 1.64 คอ 1.59 เข่า 1.58 และไหล่ 1.43 ตามลำดับ และมีค่าเปอร์เซ็นต์ต์ระดับความรู้สึกไม่สบายลดลง ในส่วนของไหล่ 56 % หลังส่วนล่าง 52.50 % เข่า 51.68 % คอ 49.84 % ต้นขา 49.69 % และหลังส่วนบน 46.74 % ตามลำดับ
This article aims to design and instruction ergonomic chair by classroom lectures. The sample was 86 male students in department of industrial technology, faculty of engineering, Rajamangala University of Technology Lanna Lampang were selected as the samples by purposive sampling method. The students was assessed body using discomfortlevel-questionnaire. Whereas results from the discomfort level-questionnaire found that discomfort happened at lower back 4.46, upper back 3.38, thighs 3.32, knees 3.27, shoulders 3.25 and neck 3.17 respectively. The chairs were designed and constructed according to ergonomic principles and provides a secure manner. Designed for use of the student body of the 12 positions on the basis of design. Adjusted chairs that students was assessed body using discomfort level-questionnaire. Whereas results from the discomfort level-questionnaire found that discomfort happened at upper back 1.80, thighs 1.67, lower back 1.64, neck 1.59, knees 1.58 and shoulders 1.43 respectively. And the percentage level of discomfort decreases. Found that of the shoulders 56 %, lower back 52.50 %, knees 51.68 %, neck 49.84 %, upper back 49.69 % and thighs 46.74% respectively.
Downloads
Issue
Section
License
*Copyright
The article has been published in Kasem Bundit Engineering Journal (KBEJ) is the copyright of the Kasem Bundit University. Do not bring all of the messages or republished except permission from the university.
* Responsibility
If the article is published as an article that infringes the copyright or has the wrong content the author of article must be responsible.