การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิคและเศรษฐศาสตร์ของการติดตั้งระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์โดยการใช้อุปกรณ์กำจัดประจุของน้ำด้วยระบบไฟฟ้าทดแทนการใช้ถังกรองกำจัดประจุของน้ำด้วยสารกรองเรซิ่นกรณีศึกษา การสร้างโรงงานผลิตน้ำบริสุทธิ์เพื่อกระบวนการผลิตยา

Authors

  • ธงชัย เลขะเจริญกุล สาขาการจัดการวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
  • ศันสนีย์ สุภาภา ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
  • พัชราภรณ์ ญาณภิรัต ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Keywords:

อุปกรณ์กำจัดประจุของน้ำด้วยระบบไฟฟ้า, ถังกรองกำจัดประจุของน้ำด้วยสารกรองเรซิ่น, การวิเคราะห์การลงทุนในส่วนเพิ่ม, การวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลงตัวแปร, electrodeionization, mixed bed ion exchange resin, incremental investment analysis, sensitivity ana

Abstract

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิคและเศรษฐศาสตร์ของการติดตั้งระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์โดยการใช้อุปกรณ์กำจัดประจุของน้ำด้วยระบบไฟฟ้า (EDI) ระบบใหม่ ทดแทนการใช้ถังกรองกำจัดประจุของน้ำด้วยสารกรองเรซิ่น (MBIX) ระบบดั้งเดิม เพื่อผลิตน้ำบริสุทธิ์ที่มีอัตราการผลิตน้ำบริสุทธิ์ 3 m3/hr นำไปใช้งานในกระบวนการผลิตยาของบริษัทกรณีศึกษา เพิ่มเติมจากเดิมที่ใช้งานอยู่เดิม เพื่อให้ได้อัตราการผลิตน้ำบริสุทธิ์รวมเป็น 6 m3/hr ปัญหาด้านคุณภาพน้ำบริสุทธิ์ในการผลิตยา เป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องมีการพิจารณาเลือกรูปแบบของระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ที่มีความเหมาะสม จากการออกแบบและการทดลองใช้งานระบบ EDI พบว่าสามารถผลิตน้ำบริสุทธิ์ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดได้อย่างต่อเนื่อง และคุณภาพน้ำบริสุทธิ์ในแต่ละตัววัดสูงกว่าระบบ MBIX อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์โดยการวิเคราะห์การลงทุนในส่วนที่เพิ่ม โดยกำหนดระยะเวลาในการวิเคราะห์ 10 ปี และอัตราผลตอบแทนการลงทุนขั้นต่ำที่ร้อยละ 20 พบว่า ระบบ EDI เป็นทางเลือกที่เหมาะสมในการนำมาติดตั้งใช้งาน เนื่องจากอัตราผลตอบแทนในส่วนเพิ่มของโครงการเท่ากับ 106.98% และระยะเวลาคืนทุน 1.16 ปี และผลการวิเคราะห์ความไวจากการเปลี่ยนแปลงค่าจ้างพนักงาน, ต้นทุนของระบบรวมติดตั้ง, ราคาอุปกรณ์ EDI และ ราคาอุปกรณ์ MBIX พบว่าที่การเปลี่ยนแปลง +/- 100%ไม่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจ ดังนั้น ระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ด้วยอุปกรณ์ EDI เป็นระบบที่มีความเหมาะสมมากกว่าระบบผลิตน้ำบริสุทธิ์ด้วยอุปกรณ์ MBIX ทั้งทางด้านเทคนิคและด้านเศรษฐศาสตร์ในการลงทุนติดตั้งและใช้งานสำหรับกระบวนการผลิตยาของบริษัทกรณีศึกษา

 

The objective of this study was to analyze the technical and economic feasibility on the installation of Electrodeionization (EDI), a new purified water system, instead of the traditional Mixed Bed Ion Exchange Resin system (MBIX) at capacity of 3 m3/hr used in pharmaceutical processing. After increasing, the rate of purified water producing would be up to 6 m3/hr. Due to high quality of purified water required for the process, the consideration for selection of the appropriate purified water system was essential. The EDI system was designed to compatible with the existing pharmaceutical process and the system was tested for production of purified water. From using the statistics method, the 123 samples of each EDI and MBIX water were tests for 4 necessary quality indicators. It was found that the purified water from EDI had high quality than MBIX under statistical significant. For the economic analysis by using the incremental investment analysis, at 10 years of project life and at the minimum attractive rate of return of 20% per year, it was found that the incremental internal rate of return was at 106.98% per year and the incremental investment has 1.16 years of payback period. The EDI was found to be more favorable for investment. As for sensitivity analysis, it was found that for variation of the labor costs, project investment costs, EDI equipment costs and MBIX equipment costs in the range of +/- 100%. The variations were insensitive for changing the decision for system selection. Therefore, the EDI project was technically and economically feasible for purified water system of pharmaceutical production.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)