การประยุกต์ใช้วิธีอาณาจักรมดกับการจัดลำดับการผลิตแบบไหลลื่นที่มีเวลาการผลิตไม่แน่นอน

Authors

  • จิระศักดิ์ ชาบาง ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 99 หมู่ 18 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง ปทุมธานี 12121
  • สวัสดิ์ ภาระราช ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 99 หมู่ 18 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง ปทุมธานี 12121

Keywords:

การจัดตารางการผลิตแบบไหลลื่น, เวลาการผลิตไม่แน่นอน, อาณาจักรมด, Flow Shop Scheduling, Uncertain Processing Time, Ant Colony Algorithm

Abstract

งานวิจัยนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้วิธีอาณามดในการแก้ปัญหาการจัดลำดับการผลิตแบบไหลลื่นที่มีเวลาการผลิตเป็นพิสัย ภายใต้เครื่องจักร 3 เครื่องจักร (สถานี) ที่มีจำนวนงานในการทดลองจำนวน 8 งาน 12 งาน และ 16 งาน จุดประสงค์ค่าพิสัยของเวลาเสร็จสิ้น (Makespan Range) ที่น้อยที่สุด ค่าพิสัยของเวลาเสร็จสิ้นเป็นตัวชี้วัดการกระจายของเวลาเสร็จสิ้น หมายความว่า หากตารางการผลิตใดมีค่าพิสัยของเวลาเสร็จสิ้นมาก แสดงว่าจะมีโอกาสเกิดความคลาดเคลื่อนของเวลาเสร็จสิ้นของตารางการผลิตมากกว่าตารางการผลิตที่มีพิสัยของเวลาเสร็จสิ้นน้อย ผลการทดลองพบว่าการประยุกต์ใช้วิธีอาณาจักรมดสามารถแก้ไขปัญหาการจัดลำดับการผลิตแบบไหลลื่นที่มีเวลาการผลิตที่เป็นพิสัยได้ โดยสามารถหาค่าพิสัยของเวลาเสร็จสิ้นได้ 40 ชม. 54 ชม. และ 70 ชม. จากจำนวนงาน 8 งาน 12 งาน และ 16 งาน ตามลำดับ ซึ่งพารามิเตอร์ประชากรมดเป็นปัจจัยหลักที่มีผลกระทบต่อคุณภาพของคำตอบ โดยค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมของการทดลอง คือ ประชากรมด 10 ฟีโรโมน 0.50 อัตราการระเหยของฟีโรโมน 0.05 ถ่วงน้ำหนักของปริมาณสารฟีโรโมน 1 ข้อมูลที่ใช้สุ่มอย่างมีเหตุผล 0.10 และฟีโรโมนอัพเดต 0.90

 

This paper related to application of the ant colony algorithm for flow shop scheduling under uncertain processing time on three machines (stations). The number of jobs to be considers are 8, 12, and 16 to find a schedule that has minimum of time between the maximum makespan and minimum makespan called “makespan range” The makespan range measures the dispersion of the makespan, it mean that if that production schedule that has more makespan range, it will has more uncertainty than the production schedule that has less makespan range. The result showed that the ant colony algorithm could solve well for the flow shop scheduling under uncertain processing time problems. The makespan ranges for problem instant were 40, 54, and 70 hours for problem of 8, 12, and 16 jobs respectively. The ant population was the main parameter affected the quality of solutions. The optimal parameters are the ant population 10, the deposited pheromone 0.50, the pheromone evaporation 0.05, the visibility weight 1.0, the random reasonably data 0.10, and the update pheromone 0.90.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)