การประเมินผลการบริหารจัดการจราจรแบบสวนกระแส: กรณีศึกษาบริเวณด่านเก็บเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางทับช้าง

Authors

  • นครินทร์ สัทธรรมนุวงศ์ สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 126 ถ.ประชาอุทิศ บางมด ทุ่งครุ กทม.
  • ทรรศนะ บุญอยู่ สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 126 ถ.ประชาอุทิศ บางมด ทุ่งครุ กทม.

Keywords:

ช่องจราจรแบบสวนกระแส, ด่านฯ ทับช้าง, แบบจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาค, Reversible lane, Tab Chang Toll Plaza, Microscopic Simulation Model

Abstract

บทความนี้นำเสนอผลการประเมินด้านวิศวกรรมจราจรของการจัดการจราจร ด้วยวิธีการเปิดใช้ช่องจราจรแบบสวนกระแส (Reversible lane, RL) บริเวณหน้าด่านเก็บเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางทับช้าง บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ในช่วงเวลาเร่งด่วน 07:00-08.00 น. ในทิศทางขาเข้าสู่กรุงเทพ โดยการเปลี่ยนช่องทางขาออกไปอยุธยา 1 ช่องให้เป็นทิศขาเข้า และมีความยาวของระยะการเปิดช่องจราจรแบบสวนกระแสเท่ากับ 900 เมตร ซึ่งผลจากการประยุกต์ใช้แบบจำลองด้านการจราจรแบบจุลภาคในการประเมินผลประโยชน์ทางด้านวิศวกรรมของการจัดช่อง RL เพื่อเปรียบเทียบกรณีที่เปิดใช้และไม่เปิดช่อง RL พบว่า การเปิดช่องจราจรแบบสวนกระแสในปัจจุบันสามารถช่วยระบายรถได้มากขึ้นร้อยละ 3.65 ช่วยให้มีความเร็วเฉลี่ยของการจราจรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.40 และลดความล่าช้าเฉลี่ยลงร้อยละ 2.68 โดยสัดส่วนที่เหมาะสมในการจัดช่องจราจรแบบสวนกระแส และเริ่มมีผลประโยชน์จากการเปิดช่องจราจรแบบสวนกระแสอยู่ที่สัดส่วนปริมาณจราจรทิศทางมุ่งหน้ากรุงเทพฯ: อยุธยา เท่ากับร้อยละ 70:30 อย่างไรก็ตามผลการประเมินพบว่า ผลประโยชน์จากการเปิดช่องสวนกระแสของด่านฯ ทับช้างมีค่าค่อนข้างน้อย เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านกายภาพของด่านที่ไม่สามารถใช้ช่องเก็บเงินของทิศทางตรงข้ามในการช่วยระบายรถด้วยมาตรการนี้

This article presents the evaluation of reversible lane operation at the Tub Chang toll plaza on Motorway route no.9, Bangkok. The reversible lane (RL) operation has enabled during 07:00 to 08:00 A.M. by changing the direction of an outbound lane to the inbound with the reversal distance of 900 meters. The Comparison Results by using a microscopic simulation model between with and without RL found that the current RL operation explicitly resulted in increasing the toll capacity by 3.65%, increased the average speed and reduced the total delay by 2.40 and 2.68%, respectively. Furthermore, the suitable traffic proportion for opening RL between the inbound and outbound is starting from 70:30 percent (Bangkok-bound: Ayuthaya-bound). However, the results showed that benefit from the opening of RL is relatively small due to the geometrical limitation that cannot used the opposite tollbooths in reversible lane operation.

Downloads

Published

2017-08-03

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)