การคาดการณ์เบื้องต้นผลกระทบการรุกตัวของความเค็มต่อการเกษตร: กรณีศึกษาสมมติใช้ข้อมูล IPCC ต่อการเพิ่มขึ้น ของระดับน้ำทะเลในอ่าวไทย

Authors

  • สุนารี เสือทุ่ง สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140
  • สนิท วงษา สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140

Keywords:

โครงข่ายลำน้ำ, การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ, การรุกตัวความเค็ม, ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น, River Network, Climate Change, Intrusion of Salinity, Sea Level Rise

Abstract

งานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมทางชลศาสตร์และการคาดการณ์เบื้องต้นผลกระทบการรุกล้ำของความเค็มทั้ง 4 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำแม่กลอง ลุ่มน้ำท่าจีน และลุ่มน้ำบางปะกง ภายใต้สภาวะภัยแล้ง โดยใช้แบบจำลอง MIKE11 เริ่มต้นจากการจัดทำแบบจำลองทางชลศาสตร์ และการพัดพาและแพร่กระจาย ตลอดจนการประยุกต์ข้อมูลระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั่วโลก IPCC ผลการศึกษาพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ความขรุขระที่เหมาะสมทั้ง 4 ลุ่มน้ำอยู่ในช่วง 0.025-0.045 และค่าสัมประสิทธิ์การพัดพาและแพร่กระจายอยู่ในช่วง 100-2,000 ตร.ม./วินาที สำหรับการคาดการณ์เบื้องต้นการรุกล้ำของความเค็มในปี พ.ศ. 2563 และปี พ.ศ. 2643 กรณีศึกษาเหตุการณ์ RCP 2.6 และ 8.5 พบว่า เมื่อระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั่วโลก IPCC ปี พ.ศ. 2563 เพิ่มขึ้น 2-4 ม.และ ปี พ.ศ. 2643 เพิ่มขึ้น 38-68 ม. ส่งผลให้ค่าระดับน้ำในแม่น้ำที่จุดเฝ้าระวังเพิ่มขึ้น 2-5 ซม. และ 69-70 ซม. ตามลำดับ รวมทั้งส่งผลให้ค่าความเค็มเพิ่มขึ้นอยู่ระหว่าง 0.01-0.08, 0.09-0.96 และ 0.13-1.92 กรัม/ลิตร ตามลำดับ ค่าความเค็มรุกเข้าไปในแม่น้ำทั้ง 4 สายเพิ่มขึ้นประมาณ 1-2 กม. สรุปได้ว่า เมื่อระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยเพิ่มสูงขึ้นการรุกตัวของความเค็มเข้าไปในแม่น้ำเป็นระยะทางที่ไกลขึ้น สำหรับการเกษตรส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชทางเศรษฐกิจในจังหวัดนนทบุรี ราชบุรี นครปฐม และปราจีนบุรี เช่น ทุเรียน มะพร้าว ลิ้นจี่ มะม่วง และข้าว เป็นต้น ผลการศึกษาเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นเพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการประเมินพื้นที่เสี่ยงผลกระทบความเค็ม

This research study hydraulic behavior and preliminary prediction effect intrusion of salinity in four basins. For basins consist of Chao Phraya River Basin, Mae Klong River Basin, Tha Chin River Basin and Bangprakong River under drought conditions by using the MIKE11 model. Researcher starts from preparation of the Hydrodynamic modules, Advection-Dispersion modules and application data of global mean sea level from IPCC. The result of research found that coefficients of manning’s n appropriate with the four basins, with values in range 0.025-0.450 and dispersion coefficient are 100-2,000 m2/sec. For preliminary prediction effects intrusion of salinity in 2020 and 2100 case study RCP2.6 and RCP8.5 found that when global mean sea level rise from IPCC in 2020 increase 2-4 m and 2643 increase 38-68 cm, water level in rivers at surveillance points increase 2-5 cm and 69-70 cm In addition, salinity values increase between 0.01-0.08, 0.09-0.96 and 0.13-1.92 g/l respectively. The intrusion of salinity into four rivers increases approximately 1-2 km. Therefore, the increase of sea level in the Gulf of Thailand affects intrusion of salinity into the river at a greater distance. For agriculture, salinity values effect on economic plants in Nonthaburi, Ratchaburi, Nakhon Pathom and Prachinburi provinces. This intrusion of salinity affects growth of economic plants such as durian, coconut, lychee, mango and rice etc. The results are just preliminary presumption for use as a guideline to evaluate risk area from effect of salinity.

Downloads

Published

2017-08-03

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)