การกำหนดหลักเกณฑ์คัดเลือกตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับการจัดตั้งสถานีตรวจสอบน้ำหนัก โดยการใช้ทฤษฎีกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP)

Authors

  • นรินทร์ เอื้อศิริวรรณ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 1761 ถนนพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
  • วิกรม พนิชการ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 1761 ถนนพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
  • ดำรงค์ รังสรรค์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 1761 ถนนพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
  • อุบลรัตน์ วาริชวัฒนะ สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 1761 ถนนพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250

Keywords:

สถานีตรวจสอบน้ำหนัก, ประเทศไทย, กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์, weigh station, Thailand, analytical hierarchy process

Abstract

ปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดเป็นปัญหาหลักที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อเส้นทางขนส่งในประเทศไทย มาตรการควบคุมและแก้ไขน้ำหนักบรรทุกเกินพิกัดที่ผ่านมา สามารถทำได้โดยการจัดตั้งและดำเนินการสถานีตรวจสอบน้ำหนัก ปัจจุบันเครือข่ายเส้นทางขนส่งมีการพัฒนาไปมาก การเพิ่มจำนวนสถานีตรวจสอบน้ำหนักจึงมีความจำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน วิธี AHP ถูกนำมาประยุกต์เพื่อศึกษาหาปัจจัยสำคัญที่ใช้เป็นเกณฑ์กำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมจะจัดตั้งสถานีตรวจสอบน้ำหนัก ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยหลักด้านวิศวกรรมมีคะแนนความสำคัญสูงที่สุด (ร้อยละ 60) ถัดมาคือปัจจัยหลักทางด้านเศรษฐศาสตร์ (ร้อยละ 25) และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม (ร้อยละ 15) ตามลำดับ ส่วนลำดับความสำคัญของปัจจัยรองซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยหลักด้านวิศวกรรม ได้แก่ ปริมาณการจราจรของรถบรรทุก (TTV) (ร้อยละ 24) ความเหมาะสมของที่ตั้งทางวิศวกรรม (ร้อยละ 14) ความสำคัญหรือประเภทของสายทาง (ร้อยละ 13) และค่าดัชนีความขรุขระสากล (IRI) (ร้อยละ 9) ลำดับความสำคัญของปัจจัยรองที่อยู่ภายใต้ปัจจัยหลักด้านเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการลดค่าบำรุงรักษาของถนน (ร้อยละ 10) ค่าใช้จ่ายในการใช้รถที่ลดลง–ค่าเสื่อมราคา (ร้อยละ 6) มูลค่าการลงทุนในการจัดตั้งสถานีตรวจสอบน้ำหนัก (ร้อยละ 5) และการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลง (ร้อยละ 4) และลำดับความสำคัญของปัจจัยรองที่อยู่ภายใต้ปัจจัยหลักด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ได้แก่ ผลกระทบต่อชุมชน (ร้อยละ 8) ความเหมาะสมของพื้นที่ (ร้อยละ 4) และปริมาณมลพิษที่ลดลง (ร้อยละ 3) พบว่าปัจจัยหลักทางวิศวกรรมมีค่าคะแนนความสำคัญมากกว่าผลรวมค่าคะแนนความสำคัญของปัจจัยหลักอีกสองด้านรวมกัน กล่าวได้ว่าการพิจารณาปัจจัยด้านวิศวกรรมเป็นแนวทางหลักของการคัดเลือกตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการจัดตั้งสถานีตรวจสอบน้ำหนัก

 

Overweight trucks in Thailand have been the main issue of road damages, the preventive measure has been operated by weigh stations. At present, transportation networks have been further developed, the additional establishment of weigh station is then needed to increase the performance of weigh station network. The method of analytical hierachy process, AHP, was applied to achieve a criteria to select the suitable locations for establishing weigh stations. It found that the engineering factor has the highest weight (60%), follows by the economic factor (25%), and the environment-social factor (15%) respectively. Among the four attributes of the engineering factor, the truck traffic volume (TTV) has the highest weight (24%), follows by the appropriate constructive location (14%), the type of transport route (13%), and the international roughness index (IRI) (9%) respectively. The benefit of reduced higway maintenance has the highest weight (10%) among the four attributes of the economic factor, follows by the truck depreciation factor (6%), the investment value of weigh station establishment (5%), and the benefit of reduced fuel consumption (4%) respectively. Finally, among the three attributes of the environment-social factor, the impact on community has the highest weight (8%), follows by the suitability of area (4%), and the reduced pollution (3%) respectively. It found that the weight of engineering factor is greater than a summation of economic factor and environment factor. The engineering factor may be the main selection criteria for weigh stations establishment.

Downloads

Published

2017-08-03

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)