การลดความชื้นข้าวเปลือกด้วยคลื่นไมโครเวฟแบบอัตโนมัติ
Keywords:
การลดความชื้น, ความร้อนไมโครเวฟ, ข้าวเปลือก, เมล็ดข้าว, dehydration, microwave heating, rice paddy, rice grainAbstract
งานวิจัยนี้ศึกษาการลดความชื้นข้าวเปลือกสายพันธุ์ต่าง ๆ ด้วยวิธีการอบด้วยคลื่นไมโครเวฟ การอบด้วยลมร้อน และการผึ่งแดดปกติ จากการทดลองพบว่ากรรมวิธีการอบที่เหมาะสม คือ การติดตั้งโปรแกรมการอบอัตโนมัติด้วยคลื่นไมโครเวฟที่มีกำลังไฟฟ้าเฉลี่ยในการอบเท่ากันที่ 240 วัตต์ โดยการเปิดคลื่น 3 วินาที และ ปิด 7 วินาที ในแต่ละรอบจะทำให้ความชื้น การแตกหัก ปริมาณไขมันอิสระ โปรตีน สารให้กลิ่นหอม 2AP ของเมล็ดข้าวจะลดลงตามระยะเวลาที่ใช้ในการอบที่เพิ่มขึ้น ส่วนปริมาณวิตามิน B1 และ อะไมโลส จะลดลงเช่นกัน ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของข้าว เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น การอบด้วยคลื่นไมโครเวฟจะใช้ระยะเวลาสั้นกว่าและข้าวที่ผ่านการลดความชื้นมีคุณภาพที่ดีกว่า ข้าวเปลือกที่ผ่านการอบในสภาวะนี้เป็นเวลา 360 วินาที จะมีคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีเทียบเท่ากับข้าวเปลือกที่ผ่านการอบด้วยลมร้อน 45 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 18 ชั่วโมง และข้าวเปลือกที่ผ่านการผึ่งแดดปกติเป็นเวลา 15 ชั่วโมง
This study aimed to investigate the dehydration of different kinds of rice paddy by using microwave heating, hot air blowing and natural drying. Results showed that the suitable method for moisture reduction of rice paddy was microwave heating at 240 watts with automatic program as the heating cycles of 3 seconds on and 7 seconds off. The moisture content, broken percentage, fatty acid amount, protein and rice aroma concentration of 2AP decreased with the prolonging dehydration time. Also, the decrease of vitamin B1 and amylose amount depended on the kinds of rice paddy. Compared to the other methods, using microwave heating was done in the shorter time to obtain the dehydrated rice paddy with better properties. From 360 seconds of using automatic microwave heating under the optimum program, the dehydrated paddy had the comparative properties to those from blowing 45 °C of hot air for 18 h and from natural drying for 15 h.
Downloads
Published
Issue
Section
License
*Copyright
The article has been published in Kasem Bundit Engineering Journal (KBEJ) is the copyright of the Kasem Bundit University. Do not bring all of the messages or republished except permission from the university.
* Responsibility
If the article is published as an article that infringes the copyright or has the wrong content the author of article must be responsible.