การจัดการระบบสารสนเทศหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

Authors

  • เพ็ญนภา ดำหมัด หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต การจัดการงานวิศวกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ศักดิ์ชาย รักการ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต การจัดการงานวิศวกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ปพน สีหอมชัย หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต การจัดการงานวิศวกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

Keywords:

การจัดการ, ระบบสารสนเทศ, ระบบฐานข้อมูล, Management, Information System, Database System

Abstract

ในบทความนี้ได้ทำการศึกษาการจัดการระบบสารสนเทศหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการ จัดการของระบบสารสนเทศของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตให้มีประสิทธิภาพและเพื่อ ตอบสนองระบบการประกันคุณภาพของหลักสูตร ในงานวิจัยได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศและ ทำการศึกษาเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสอบถามมาใช้เพื่อสนับสนุนทางด้านคุณภาพและเปรียบเทียบ คุณภาพระหว่างระบบงานเดิมกับระบบงานใหม่ เพื่อสรุปหาปัจจัยหรือตัวชี้วัดที่มีส่วนทำให้ระบบ สารสนเทศของหลักสูตรมีคุณภาพและมาตรฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้อาศัยวิธีการ ดำเนินการตามหลักของวงจรการพัฒนาระบบแบบ System Development Life Cycle (SDLC) การพัฒนาซอฟต์แวร์และฐานข้อมูล โดยใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาเป็นซอฟต์แวร์ประเภท ซอฟต์แวร์เปิด คือ ซอฟท์แวร์สำเร็จรูป Joomla การจัดการฐานข้อมูลใช้ซอฟต์แวร์มายเอสคิวแอล (MySQL) และพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยภาษา Professional Home Page (PHP) ซึ่งเป็นการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ร่วมกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบที่มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับการใช้ งานตามความต้องการของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี จากนั้นได้ติดตั้งระบบสารสนเทศของหลักสูตร วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตที่พัฒนาขึ้น และได้ดำเนินการหาประสิทธิภาพของระบบ โดยกลุ่ม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยนักศึกษาในหลักสูตรและกลุ่มผู้ใช้ ทั่วไปและผู้เชี่ยวชาญด้านระบบงาน รวมจำนวน 23 คน โดยใช้แบบสอบถามด้านความพึงพอใจ และด้านคุณภาพระบบงาน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย และการ หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยนำข้อมูลที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยง เบียนมาตรฐานด้านความพึงพอใจและด้านคุณภาพระบบงาน ซึ่งผลจากการศึกษาวิจัยการพัฒนาระบบสารสนเทศหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ด้านคุณภาพของระบบในภาพรวม พบว่า ผลการประเมินคุณภาพของระบบในทุกๆ ด้าน จากผู้ใช้งานระบบอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.49 และผลความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 ซึ่งอยู่ในระดับดี สรุปผลการประเมินได้ว่า ระบบสารสนเทศของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพ สามารถนำไปใช้งานได้อย่างแท้จริงและตรงตามความต้องการ

 

MANAGEMENT INFORMATION SYSTEMS MASTER OF ENGINEERING PROGRAM DEPARTMENT OF ENGINEERING MANAGEMENT KASEM BUNDIT UNIVERSITY

This research has examined to be the management information systems of Master of Engineering Program, Kasem Bundit University. The objectives are to optimize the management of information systems and to satisfy the quality assurance system to a higher standard of the program. The study was based on qualitative research using a questionnaire to collect data. A comparison between the old system and the new system, was made to summarize the determinant or indicators that contribute to the quality and standards of the program. The tool was applied in this research was System Development Life Cycle (SDLC) model. The software development and database developed by using open source, namely Joomla. Database management software MySQL and software development language Professional Home Page (PHP). Ware applied for developing an effective system to be accommodate the needs of the users as favorable. The developed system was then installed and conducted to find out efficiency of the system. The sample used in this research is a randomized simple example. The simple included students and professionals who used the systems from 23 people. Questionnaire ware used ask the satisfaction and inquiries of quality system. The tools applied for data analysis include the average and standard deviation. The data that were collected and analyzed for mean and standard deviation took place on customer satisfaction and quality of the systems. The results showed that the quality assessment from users are at indicated a good level. With an average score of 4.49 and satisfaction results of the system with an average score of 4.52 are good level. It can be concluded that the MIS of the program can be truly utilized and meets all requirement.

Downloads

Issue

Section

บทความวิชาการ (Academic Article)