การพัฒนาผลิตภัณฑ์วัสดุเชิงประกอบที่เสริมแรงด้วยใยสับปะรด: การทบทวนวรรณกรรม

Authors

  • ชานนท์ มูลวรรณ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กัณวริช พลูปราชญ์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

วัสดุเชิงประกอบ, วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร, เส้นใยสับปะรด, Composite Materials, Agricultural Wastes, Pineapple Fibers

Abstract

การศึกษางานวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ยานยนต์จากวัสดุเชิงประกอบที่เสริมแรงด้วยเส้นใยสับปะรด เป็นการทบทวนวรรณกรรมที่มุ่งเน้นการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเป็นวัตถุดิบเพื่อปรับปรุง และพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนในงานอุตสาหกรรมยานยนต์ได้แก่ แผ่นกัน เสียงด้านในประตูรถ การทบทวนวรรณกรรมได้กล่าวถึง กระบวนการผลิต ลักษณะโครงสร้างสัณฐานวิทยา สมบัติเชิงกายภาพ สมบัติเชิงกล และสมบัติเชิงความร้อน เป็นต้น ประโยชน์ที่ได้รับจะเป็น การศึกษาความเป็นไปได้ของการนำเส้นใยสับปะรดมาทดแทนเส้นใยสังเคราะห์ เป็นการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร งานวิจัยจึงมีความสำคัญยิ่งในการสร้างความรู้พื้นฐาน และนำมาบูรณาการในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นผลดีต่อประเทศในอนาคต

 

PRODUCT DEVELOPMENT FROM PALF REINFORCED COMPOSITES: LITERATURE REVIEW

A study of researches to develop automobile product from PALF Reinforced Composites was a literature review emphasizing on using agricultural wastes as raw materials to improve and develop for highest benefit a product part for the automobile industry which is a noise prevention sheet inside the car doors. The literature reviews covered the production process, morphology, physical properties, mechanical properties and thermal properties. The benefits received will be a feasibility study of using pineapple fibers to replace synthetic fibers to increase the value of agricultural wastes. The research is essential in the creation of basic knowledge integrating with industrial production which will be beneficial for the country in the future.

Downloads

Issue

Section

บทความวิชาการ (Academic Article)