การวางระบบการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน สำหรับรถดูดเลนและฉีดล้างท่อระบายน้ำ

Authors

  • บุญเทือง รองเดช หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการงานวิศวกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

Keywords:

ซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน, checklists, ระยะทาง, preventive maintenance, mileage

Abstract

บทความนี้ได้ทำการศึกษาเพื่อวางระบบการซ่อมบำรุงให้กับรถดูดเลนและฉีดล้างท่อระบายน้ำขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่ง มีจำนวน 6 คัน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะลดเวลาและความถี่ (จำนวนครั้ง) ที่รถเกิดการชำรุดเสีย (breakdown) หน้างานลง ซึ่งได้ดำเนินการโดยวางระบบการ ซ่อมบำรุงเชิงป้องกันให้ครอบคลุมในทุกระบบ จัดทำ checklists ประจำวัน, ประจำสัปดาห์, ประจำเดือน ที่ระยะการใช้งาน 40, 250, 400 และ 1,500 ชั่วโมง และที่ระยะทาง 5,000, 10,000, 20,000 และ 40,000 กิโลเมตร โดยใช้ค่า Mean Time Between Failure (MTBF), Mean Time to Repair (MTTR), Percent of Machine Availability และต้นทุนแรงงาน (labor costs) เป็นดัชนีชี้วัด เปรียบเทียบผลระหว่างก่อนและหลังจากได้ดำเนินการวางระบบการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันแล้ว จากการศึกษาพบว่าค่า MTBF เฉลี่ยมีอัตราเพิ่มขึ้นเท่ากับ 112.04 เปอร์เซ็นต์ ค่า MTTR เฉลี่ยมีอัตรา ลดลงเท่ากับ 31.15 เปอร์เซ็นต์ ค่า Percent of Machine Availability เฉลี่ยมีจำนวนเปอร์เซ็นต์เพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.47 อัตราการชำรุดเสียหน้างานเฉลี่ยมีอัตราลดลงเท่ากับ 58.33 เปอร์เซ็นต์ ต้นทุนแรงงานเฉลี่ยมีอัตราลดลงเท่ากับ 8.47 เปอร์เซ็นต์

 

PREVENTIVE MAINTENANCE SYSTEM PLANNING FOR DRAINAGE PIPE CLEANING TRUCKS

This paper is a study of maintenance system planning for the 6 drainage pipe cleaning trucks. The object of study to reduce time and frequency (number of times) on trucks breakdown. The researcher perform preventive maintenance system which cover all them. And prepare checklists for daily, weekly, monthly for 40, 250, 400 and 1,500 working hours and 5,000, 10,000, 20,000 and 40,000 kilometers of mileage. By using the Mean Time between Failure (MTBF), Mean Time to Repair (MTTR), Percent of Machine Availability and labor costs as indicators. In the later to compare the results between before and after the implementation of the preventive maintenance. The study founds that the average MTBF increases of 112.04 percent, average MTTR decreases 31.15 percent, average percent of Machine Availability increases 0.47, the average rate of failure on site decreases 58.33 percent, and the average labor costs decreases 8.47 percent.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)