การผลิตกระเบื้องเซรามิกและกระเบื้องมวลเบาจากหินฝุ่นแอนดีไซต์ผสมเถ้าไม้ยางพารา

Authors

  • เสาวภา ชูศรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • ดนุพล ตันนโยภาส มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • สุชาติ จันทรมณีย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์

Keywords:

หินฝุ่นแอนดีไซต์, เถ้าไม้ยางพารา, กระเบื้องเซรามิก, ผลิตภัณฑ์สีเขียว, andesite fine, para rubber wood ash, ceramic tile, green products

Abstract

ศึกษาหินฝุ่นแอนดีไซต์ผสมกับเถ้าไม้ยางพาราเพื่อผลิตเป็นกระเบื้องเซรามิก โดยแทนที่หินฝุ่น แอนดีไซต์ด้วยเถ้าไม้ยางพาราในอัตราส่วนร้อยละ 0-30 โดยน้ำหนักกระเบื้องมีขนาด 100 มม. x 100 มม. x 8 มม. ผสมน้ำที่เหมาะสมและขึ้นรูปกระเบื้องดิบด้วยเครื่องอัดไฮดรอลิกที่ 8 เมกะพาสคัล เผาที่อุณหภูมิ 1,100 และ 1,150 องศาเซลเซียส ทดสอบสมบัติของกระเบื้อง ได้แก่ ความได้ฉาก และการบิดเบี้ยว การหดและขยายตัวเชิงปริมาตรหลังเผา น้ำหนักสูญหายหลังเผา ความหนาแน่นรวม การดูดซึมน้ำ ความแข็งแบบชอร์ กำลังดัดและความคงทนต่อสารเคมี โครงสร้างจุลภาคด้วย การวิเคราะห์ด้วยการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์และถ่ายภาพจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด หินฝุ่น แอนดีไซต์สามารถทดแทนวัตถุดิบผลิตกระเบื้องเซรามิกได้ และเถ้าไม้ยางพาราแทนที่เหมาะสมที่สุดร้อยละ 10 เผาที่ 1,150 องศาเซลเซียส ทำเป็นกระเบื้องมวลเบา เกิดวัฎภาคแร่ไดออปไซด์ ลูไซต์ อะเคอมาไนต์และอิลเมไนต์ และภาพถ่ายจุลภาคของกระเบื้องมีผลึกเรียงตัวและรูโพรงเกิดขึ้น

 

PRODUCTION OF CERAMIC AND LIGHTWEIGHT TILE FROM WASTE ANDESITE FINE AND PARA RUBBER WOOD ASH

Andesite fine tailing (AFT) ceramic tile mixed para rubber wood ash (PRWA) has been investigated. PRWA in the proportion of 0-30 wt% has been replaced partially into the AFT. Rectangular specimens in dimension of 100x100x80 mm with moisture content and shaped by hydraulic uniaxial pressing of 8 MPa. The firing durations were at 1,100 and 1,150°C for 1 h. The squareness and warpage, volumetric firing shrinkage or expansion, bulk density, weight loss, water absorption, Shore hardness, and chemical resistance of sintered specimens are explained on the basis of X-ray diffraction (XRD), and scanning electron microscopy (SEM) analysis. The ceramic tiles can be made by AFT substitute conventional raw materials. The optimum proportion of PRWA was 10% at 1,150°C can be used developed in lightweight tile. The diopside, leucite, akermanite and ilmenite phases were observed via XRD and SEM photomicrograph revealed crystallinity embedded in the matrix with elliptical pores.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)