การสำรวจสถานการณ์และรายละเอียดการซ่อมแซมบ้านพักอาศัยหลังภัย พิบัติน้ำท่วมปี พ.ศ.2554 (กรณีศึกษาบ้านพักอาศัยบริเวณย่านรังสิต)

Authors

  • นวลทิพย์ แก้วศรี สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

Keywords:

การซ่อมแซมบ้าน, ความเสียหาย, น้ำท่วมประเทศไทย, housing restoration, damage, floods, Thailand

Abstract

จากมหาอุทกภัยในประเทศไทยเมื่อปี 2554 ที่ผ่านมามีประชาชนได้รับความเดือดร้อนเสียหาย จำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณรังสิตที่เป็นแหล่งรับน้ำจากทางภาคเหนือ บ้านเรือนได้รับความ เสียหายและ เกิดการซ่อมแซมเป็นอย่างมาก การได้รับค่าชดเชยในการซ่อมแซมบ้านเพียงพอบ้าง ไม่เพียงพอบ้าง อีกทั้งการวิจัยเกี่ยวกับการซ่อมแซมบ้านหลังน้ำท่วมยังขาดแคลนอยู่มาก บทความ นี้นำเสนอส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยการซ่อมแซมบ้านพักอาศัยหลังจากน้ำท่วม โดยทาการสำรวจ บ้านพักอาศัยที่ประสบภัยน้ำท่วมบริเวณพื้นที่รังสิตด้วยแบบสอบถามจำนวน 495 หลังจากการ วิเคราะห์ความเสียหายจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการซ่อมแซมบ้านพักอาศัย พบว่า สัดส่วนการ ซ่อมแซมบ้าน แยกตามหมวดงานหลัก ได้แก่ โครงสร้าง (20%) สถาปัตยกรรม (23%) ระบบไฟฟ้า (21%) สุขาภิบาล (20%) เครื่องกล (7%) และภูมิทัศน์ (9%) ผลการวิจัยยังพบสัดส่วนการซ่อมแซม บ้านแยกตามหมวดงานย่อยต่างๆ รวมถึงสถานการณ์การประสบภัยน้ำท่วม ได้แก่ การรับรู้ข่าวสาร น้ำท่วม การเฝ้าระวัง การอพยพย้ายออก ระยะเวลาที่น้ำท่วมบ้าน ระดับน้ำที่ท่วมในบ้านการได้รับ ค่าชดเชย นอกจากนั้นแล้ว ยังประเมินราคาค่าซ่อมแซมบ้านโดยเฉลี่ยต่อพื้นที่ได้ 304 บาทต่อ ตารางเมตร และค่าใช้จ่ายรวมในการซ่อมแซมบ้านคิดเป็นร้อยละ 2.0 - 4.0 ของราคาบ้าน

 

INVESTIGATION OF SITUATION AND HOUSING RESTORATION IN DETAILS AFTER FLOOD DISASTER B.E. 2011 (CASE STUDY: HOUSING IN RANGSIT)

Thailand great floods in 2011 affected many people especially Rangsit residents, where water from the North flowed through. Housings had to be restored. Support funds from the government were insufficient. There is limited research on restoration of housings damaged by floods in Thailand. This article aims to present studies on damages and details of housings restored due to floods happening in the past. Questionnaires were distributed and completed by dwellers of 495 households in Rangsit. Percentage of different elements of the housings that were restored was: structure (20%), architecture (23%), electricity (21%), sanitation (20%), landscape (9%) and others (7%). Details on restoring of small parts of main work were also elaborated in this article. Other flood-related topics covered in this paper were information reception, monitoring, evacuation, flood duration, flood levels, support funds and costs incurred by restoration of housing due to floods. In highlight, the cost of restoration is 304 baht per square metre and the percentage restoration cost is in range of 2.0 - 4.0 of housing price.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)