การประเมินท่าทางการทำงานของผู้ปฏิบัติงานด้านการซ่อม ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์

Authors

  • ศิริพงษ์ หมูคำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาลำปาง/สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหการ
  • ศรชัย ปอนตา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาลำปาง/สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหการ
  • สุเทพ มหัคคตจิตต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาลำปาง/สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหการ
  • พงศกร สุรินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาลำปาง/สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหการ

Keywords:

การประเมิน, ท่าทางการทำงาน, การยศาสตร์, การบาดเจ็บ, ดัชนีความไม่ปกติ, วิธีประเมิน RULA, Assessment, Posture, Ergonomic, Injury, Abnormal Index, Rapid Upper Limb Assessment (RULA)

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินท่าทางการทำงานและชี้ความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ เพื่อปรับปรุงอุปกรณ์ในการทำงานช่วยลดการบาดเจ็บ โดยการเก็บข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ การคำนวณดัชนีความไม่ปกติ Abnormal Index (AI) และการประเมินด้วยวิธี Rapid Upper Limb Assessment (RULA) ในพนักงาน 2 แผนก หมายถึง แผนกดัดแผงคอโช๊คและแผนกรีมเมอร์บู๊ทวาล์ว ผลการทดลองค่าดัชนีความไม่ปกติ (AI) แผนกดัดแผงคอโช๊คก่อนปรับปรุง AI =4.375 หลังปรับปรุง AI = 0.625 ค่า AI ลดลง 85.71 % แผนกรีมเมอร์บู๊ทวาล์วก่อนการปรับปรุง AI = 5.125 หลังการปรับปรุง AI = 0.625 ค่า AI ลดลง 87.80 % ผลการประเมินด้วย Rapid Upper Limb Assessment (RULA) ก่อนปรับปรุงของแผนกดัดแผงคอโช๊ค อยู่ในระดับ 4 ผลประเมิน 7 คะแนน หมายถึงงานนั้นมีปัญหาด้านการยศาสตร์ที่ต้องปรับปรุงโดยทันที หลังการปรับปรุงโดยใช้ประแจลม คะแนนอยู่ในระดับ 1 ซึ่งผลประเมิน 1- 2 คะแนน หมายถึงงานนั้นยอมรับได้ แต่อาจเป็นมีปัญหาทางการยศาสตร์ได้ถ้ามีการทำงานดังกล่าวซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน แผนกรีมเมอร์บู๊ทวาล์วก่อนการปรับปรุงคะแนนอยู่ในระดับ 4 ซึ่งผลประเมิน 7 คะแนน หมายถึงงานนั้นมีปัญหาด้านการยศาสตร์ที่ต้องปรับปรุงโดยทันที หลังการปรับปรุงโดยใช้สว่านไฟฟ้า คะแนนอยู่ในระดับ1 ผลประเมิน 1 - 2 คะแนนหมายถึง งานนั้นยอมรับได้ แต่อาจเป็นมีปัญหาทางการยศาสตร์ได้ถ้ามีการทำงานดังกล่าวซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน


THE ASSESSMENT OF THE WORKING MOTIONS OF THE MOTORCYCLE PARTS’ REPAIRING WORKERS

This research aims to assess the working posture and indicate the risk of injury to improve the safety standards of working tools in order to reduce injury. The data were collected from the interview, calculation of Abnormal Index (AI) and the assessment with Rapid Upper Limb Assessment (RULA). Workers from two department participated: the shock absorber adjustment department and the reamer boot valve department. The result from the Abnormal Index (AI) in the shock absorber improvements department was 4.375 before the improvements and this valve was 0.625 after the improvements. Therefore, the Abnormal Index was reduced by 85.71 %. For the reamer boot valve department, the Abnormal Index was 5.125 before the improvements the same valve was 0.625 after the improvements. Therefore, the Abnormal Index was reduced by 87.80 %. From the Rapid Upper Limb Assessment (RULA) before the improvements, the shock absorber improvements department was at the 4th, level 7 points which means there was a problem with the ergonomics that needs immediate improvements. After the improvements using pneumatic wrench, the department was at the 1st, level 1 - 2 points which means the work is now acceptable, but it may have problems with ergonomics if it is done repeatedly for a long time. The reamer boot valve department was at the 4th, level 7 points which means there was an ergonomic problem that needed immediate solution. After the improvements using electric drill, the department was at the 1st, level 1 - 2 points which means the work is now acceptable but there might be ergonomic problems if the work is performed repeatedly for a long time.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)