การควบคุมคุณภาพกระบวนการผลิตเนื้อสบู่เหลว ด้วยการออกแบบการทดลองเชิงแฟคทอเรียล
คำสำคัญ:
การออกแบบการทดลองเชิงแฟคทอเรียล, การควบคุมคุณภาพ, การผลิตเนื้อสบู่เหลว, Factorial design, Quality control, Neat-soap processบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการประยุกต์ใช้การออกแบบการทดลองเชิงแฟคทอเรียลในการกำหนดระดับปัจจัยที่เหมาะสม เพื่อใช้ควบคุมเปอร์เซ็นต์น้ำในเนื้อสบู่เหลวที่ใช้ในกระบวนการผลิตสบู่ก้อน โดยข้อกำหนดเปอร์เซ็นต์น้ำที่อยู่ในเนื้อสบู่เหลว คือ 29 - 31% จากการใช้แผนภาพเหตุและผล ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเปอร์เซ็นต์น้ำในเนื้อสบู่เหลวที่ไม่ได้ตามข้อกำหนด ได้แก่ ระดับน้ำในถังวอชชิงคอลัมน์ (Washing column) และรอบการเหวี่ยงของถังเซ็นตริฟิว (Centrifuges) เมื่อนำปัจจัยดังกล่าวมาออกแบบการทดลองเชิงแฟคทอเรียลที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (α = 0.05) ได้ค่าที่เหมาะสมในกระบวนการ คือ ระดับน้ำในถังวอชชิงคอลัมน์ที่ 30% และรอบการเหวี่ยงของถังเซ็นตริฟิวที่ 4,500 รอบต่อนาที ส่งผลให้เปอร์เซ็นต์น้ำในเนื้อสบู่เหลวเฉลี่ยจากเดิม 27.40% หลังปรับปรุงเฉลี่ยเป็น 30.393% ซึ่งอยู่ภายใต้ข้อกำหนด
THE QUALITY CONTROL OF NEAT-SOAP PROCESS WITH FACTORIAL EXPERIMENTAL DESIGN
This research is the application of factorial experimental design to optimize significant parameters controlling the water percentage in neat-soap for soap finishing process. The specification of the water percentage in neat-soap is 29 - 31%. The cause and effect diagram was used to identify significant parameters associated out-of-specification of the water percentage in neat-soap. It was found that the significant parameters were the water level in washing column and the rotational speed of centrifuges. By using the factorial experimental design at a significant level of 0.05 (α = 0.05), the optimal values of the water level in washing column and the rotational speed of centrifuges were 30% and 4,500 rpm, respectively. After process improvement, the average of water percentage in neat-soap was within specification limit which increased from 27.40% to 30.393%.
Downloads
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ห้ามนำข้อความทั้งหมดไปตีพิมพ์ซ้ำ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตแล้ว
ความรับผิดชอบ
หากบทความที่ได้รับการตีพิมพ์นั้นเป็นบทความที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นหรือมีความไม่ถูกต้องในเนื้อหาของบทความ ผู้เขียนบทความนั้นต้องเป็นผู้รับผิดชอบ