พฤติกรรมการเดินทางระยะไกลของผู้พักอาศัยในกรุงเทพมหานคร: การศึกษาการเลือกรูปแบบการเดินทาง
Keywords:
การเลือกรูปแบบการเดินทาง, การเดินทางระยะไกล, การเดินทางระหว่างจังหวัด, พฤติกรรมการเดินทาง, Mode Choice, Long Distance Travel, Intercity Travel, Travel behaviorAbstract
จากการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของการจราจรและขนส่งจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ประชาชนมีแนวโน้มที่จะเดินทางเพิ่มขึ้น ตลอดจนมีระยะทางในการเดินทางที่ไกลขึ้น การศึกษาถึงพฤติกรรมการเดินทางระยะไกลจึงเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างมากในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา บทความนี้นำเสนอพฤติกรรมการเดินทางในการเดินทางระยะไกล (ระหว่างจังหวัด) ของผู้ที่พักอาศัยในกรุงเทพมหานคร โดยการสัมภาษณ์ประชาชนที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 782 ตัวอย่าง ซึ่งผลจากการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเดินทางไกลเฉลี่ย 361.7 กม.ต่อเที่ยว มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 503.65 บาทต่อเที่ยว ใช้ระยะเวลารวมในการเดินทางเฉลี่ย 312.54 นาทีต่อเที่ยว นอกจากนี้ผลจากการศึกษายังพบว่า รถยนต์ส่วนบุคคลเป็นรูปแบบการเดินทางที่เป็นที่นิยมในการเดินทางระยะไกลมากที่สุด และกลุ่มตัวอย่างยังมีแนวโน้มที่จะเลือกรถยนต์ส่วนบุคคลในการเดินทางมากยิ่งขึ้นเมื่อมีรายได้ที่สูงขึ้น สำหรับปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการเลือกรูปแบบการเดินทางระยะไกล ประกอบด้วย การครอบครองรถยนต์ในครัวเรือน วัตถุประสงค์ในการเดินทาง ระยะทาง และจำนวนผู้ร่วมเดินทาง
Long distance Travel behavior of bangkok residents: a study on Mode choice
As a consequence of technological advancement of transportation from past to present, people are likely to increase both in their travel frequency and distance. In this regard, the study of long-distance travel (LDT) behavior becomes an interesting issue over the past two decades. This article aims to envisage LDT behavior of Bangkok residents. 782 samples were collected by personal household interviews and analyzed to provide more understanding of general characteristics of LDT behavior for intercity travel. The findings showed that the average travel distance was 361.7 km/trip with average travel cost of 503.65 THB/person/trip and average travel time of 312.54 minutes/trip. In addition, the results also found that passenger car was the most popular mode for LDT. Interestingly, many sample residents tend to use cars if they have higher income. Moreover, other factors affecting LDT mode choice consist of household vehicle ownership, trip purpose, travel distance, and number of companion passengers.
Downloads
Issue
Section
License
*Copyright
The article has been published in Kasem Bundit Engineering Journal (KBEJ) is the copyright of the Kasem Bundit University. Do not bring all of the messages or republished except permission from the university.
* Responsibility
If the article is published as an article that infringes the copyright or has the wrong content the author of article must be responsible.