การศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างโรงงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ กรณีศึกษา: อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม
Keywords:
การศึกษาความเป็นไปได้, พลังงานแสงอาทิตย์, การลงทุน, จุดคุ้มทุน, ระยะเวลาคืนทุน,Abstract
ในบทความนี้ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนในการสร้างอุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการ และวิเคราะห์ผลตอบแทนด้านการเงินของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลในเชิงพรรณนา คือการนำข้อมูลที่ได้ทำการรวบรวมจากแหล่งข้อมูล และหน่วยงานต่างๆให้ทราบถึงความรู้พื้นฐานสำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ใช้ในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยมีดัชนีชี้วัดความเหมาะสมได้แก่ NPV และ IRR ในการพิจารณาความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ในการศึกษานี้จะประเมินต้นทุนในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 1 เมกะวัตต์ โดยการศึกษานี้ใช้ข้อมูลทางด้านต้นทุนอ้างอิง ซึ้งข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลจากบริษัทที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มาแล้ว ซึ่งโครงสร้างของต้นทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบด้วย เงินลงทุนหลัก และต้นทุนบำรุงรักษาในส่วนของรายรับจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นข้อมูลรายได้จากใบสัญญาการซื้อขายพลังงานแสงอาทิตย์ที่ทำสัญญากับกระทรวงพลังงานระยะเวลา 10 ปี จากการศึกษาการวิเคราะห์ทางด้านการเงินของโครงการ พบว่า การลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในสภาวะปัจจุบันมีความเหมาะสมแก่การลงทุน มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิที่คำนวณได้มีค่าเป็นบวกและอัตราผลตอบแทนภายในโครงการมากกว่าอัตราส่วนลด ดังนั้นจึงวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเงินประกอบ ปรากฎว่าเมื่อค่าก่อสร้างรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพิ่มขึ้นและลดลง 15% และ 30% พบว่า โครงการให้ผลตอบแทนคุ้มค่าต่อการลงทุน ดังนั้นสรุปได้ว่า ในกรณีของประเทศไทย อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม เมื่อพิจารณาอัตราผลตอบแทนทางด้านการเงิน พบว่าการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในสภาวะปัจจุบันมีความเหมาะสมแก่การลงทุน นอกจากนี้การศึกษาผลตอบแทน ยังไม่รวมต้นทุนภายนอกจากผลกระทบภายนอกเชิงบวกมาพิจารณาด้วย เช่น การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นก๊าซหลักที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก เนื่องจากต้นทุนส่วนนี้ขั้นตอนในการหาข้อมูลยุ่งยาก และซับซ้อนยากต่อการคำนวณออกมาให้ชัดเจน หากประเมินผลที่ได้ที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมได้ถูกต้องและครบถ้วน การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ก็จะมีความเหมาะสมแก่การลงทุนมากยิ่งขึ้น
FEASIBILITY STUDY OF THE SOLAR POWER FARM CASE STUDY: KUTRANG MAHASARAKARM
This research has examined the feasibility study to a solar power plant is intended to study the cost of building , equipments and the financial analysis for the solar power farm in Thailand . Data has been collected from various sources and agencies to know the basic knowledge for solar power farm. The advantage of the technology is to convert solar energy into electrical energy. With appropriate indicators including NPV and IRR in determining the suitability of economics in this study to assess the cost of producing electricity from solar power plants of 1 MW This study used data on the costs of the reference. The structure of the cost of solar power farm consist primarily of investments and maintenance costs. The revenue of the solar power farm. Contruct agreement with the Department of Energy for 10 years. The study of the financial analysis of the project has found that the investment in the current environment is appropriate for investment. The net present value is positive and the calculated internal rate of return greater than the discount rate. Moreover sensitivity analysis is used by increasing. Increased and decreasing by 15 % and 30 % found that the return value for the investment. Beside of the positive cost is considered. Such as redueing carbondioxied emissions and safety environment.
Downloads
Issue
Section
License
*Copyright
The article has been published in Kasem Bundit Engineering Journal (KBEJ) is the copyright of the Kasem Bundit University. Do not bring all of the messages or republished except permission from the university.
* Responsibility
If the article is published as an article that infringes the copyright or has the wrong content the author of article must be responsible.