การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการจัดการคลังอะไหล่ กรณีศึกษา: ธุรกิจงานซ่อมเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำ
Keywords:
การเพิ่มประสิทธิภาพ, การจัดการสินค้าคงคลัง, ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด, การวิเคราะห์แบบ ABC, เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำ, Increasing Efficiency, Inventory Management, Economic Order Quantity, ABC Analysis, Steam Sterilizer, Spare partAbstract
ในงานศึกษาวิจัยนี้ ได้ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการคลังอะไหล่ในงานซ่อมเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำ ซึ่งได้เล็งเห็นถึงปัญหาการการรอคอยอะไหล่ของเครื่องนึ่งฆ่าเชื่อด้วยไอน้ำ ทำให้เกิดความล่าช้าในการซ่อมบำรุง ส่งผลให้การวางแผนการดำเนินการมีประสิทธิภาพต่ำ พบว่าปัญหาส่วนใหญ่เกิดมาจากการจัดการสินค้าคงคลังที่มีปัญหาและการจัดซื้อสินค้าที่ไม่สอดคล้องกัน โดยเฉพาะสินค้าที่ขาดแคลนเนื่องมาจากการส่งสินค้าที่ใช้ระยะเวลาในการนำส่ง (Lead Time, LT) นานเกินไป ซึ่งควรมีการสั่งซื้อในปริมาณที่เหมาะสมต่อการสั่งซื้อในแต่ละครั้ง ดังนั้นในการดำเนินการแก้ไขปัญหาจะนำหลักการจัดการสินค้าคงคลังเข้ามาช่วยในการแก้ปัญหา ด้วยการวิเคราะห์ปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม (Economic Order Quantity, EOQ) และฝ่ายคลังสินค้าเพื่อสร้างความชัดเจนในการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม จากการนำข้อมูลรายการอะไหล่ที่ใช้ในเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำอัตโนมัติของแผนกซ่อมบำรุงจำนวนทั้งสิ้น 33 รายการ โดยใช้หลักการวิเคราะห์ ABC ด้วยการให้ความสำคัญกับเวลานำส่งสินค้า พบว่ามีสินค้าจำนวน 6 รายการที่มีระยะเวลาในการนำส่งมากที่สุด และนำมาวิเคราะห์การพยากรณ์ ผลลัพธ์จากการพยากรณ์ความต้องการได้รูปแบบการพยากรณ์ที่เหมาะสมคือวิธีค่าเฉลี่ยทั้ง 6 รายการ แล้วนำมาวางแผนความต้องการอะไหล่ด้วยนโยบายของการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด (EOQ) ผลลัพธ์ในระยะเวลาทั้ง 3 เดือน พบว่าสามารถลดระยะเวลารอลดลงจากเดิมเฉลี่ย 14.8 วัน เหลือ 8.6 วัน คิดเป็น 41.89% ที่ลดลง
INCREASING EFFICIENCY OF INVENTORY MANAGEMENT: CASE STUDY OF MAINTENANCE OF STEAM STERILIZER
This paper has examined the problem optimize spare parts inventory management for repair and operations with steam sterilizer, which has seen the problem of waiting for spare parts of steam sterilizer delays in maintenance. As a result, planning and operating are poor performance. Found that most problems come from the inventory management and product procurement are inconsistent. Especially, due to the shortage products are shipped at the time of delivery (Lead Time, LT) for too long, which should be in order to purchase the right amount each time. So the solution to the inventory management is the analysis of the appropriate order (Economic Order Quality, EOQ) and the warehouse to create clarity in a concrete solution. The total history data of 33 items are used in stream sterilizer for maintenance. By using ABC analyze with a focus on the time to deliver. There are 6 items with a high priority using next analysis and forecasting. Results of demand forecasting model is appropriated a Moving Average Method. Therefore, spare parts requirement planning (SSRP) with policy of Economic order Quantity (EOQ) show in three months that can be shorten the waiting time, which are decreased from an average of 14.8 days to 8.6 days or approximately 41.66 % decreasing.
Downloads
Issue
Section
License
*Copyright
The article has been published in Kasem Bundit Engineering Journal (KBEJ) is the copyright of the Kasem Bundit University. Do not bring all of the messages or republished except permission from the university.
* Responsibility
If the article is published as an article that infringes the copyright or has the wrong content the author of article must be responsible.