ผลของอัตราส่วนพลาสติกพอลิโพรไพลีนในอิฐมวลเบาต่อค่าความแข็งแรงอัดและสภาพนำความร้อน

Authors

  • นวรัตน์ นิธิสุวรรณรักษา ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

อิฐมวลเบา, พลาสติกพอลิโพรไพลีน, กำลังอัด, Autoclaved Aerated Concrete, Polypropylene Plastic, Compressive Strength

Abstract

งานวิจัยนี้ศึกษาความเป็นไปได้ในการแทนที่ทรายด้วยพลาสติกพอลิโพรไพลีนในการผลิตอิฐมวลเบา โดยอัตราส่วนพลาสติกมาแทนที่ทรายในปริมาณร้อยละ 0, 0.50, 0.75, 1.00, 1.25 และ 1.50 โดยน้ำหนัก ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณการแทนที่พลาสติกที่เพิ่มขึ้น ค่าความแข็งแรงอัด ความหนาแน่น และอัตราการดูดซึมน้ำจะมีค่าลดลง โดยอิฐมวลเบาที่มีการแทนที่ทรายด้วยพลาสติกในปริมาณร้อยละ 1.50 โดยน้ำหนัก มีค่าความแข็งแรงอัด 13.68 นิวตันต่อตารางมิลลิเมตร ความหนาแน่น 1.51 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร อัตราการดูดซึมน้ำเท่ากับ 274.98 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และมีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนมากกว่าคอนกรีตมวลเบาแบบปกติ ที่อายุการบ่ม 28 วัน ถือว่าผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 1505-2541 การเทียบต้นทุนของการนำพลาสติกมาใช้ในการหาปริมาณต่อตารางเมตรพบว่า การแทนที่ทรายด้วยพลาสติกสามารถประหยัดต้นทุนการผลิตได้

 

EFFECTS OF POLYPROPYLENE PLASTIC RATIO IN AUTOCLAVED AERATED CONCRETE ON COMPRESSIVE STRENGHT AND THERMAL CONDUCTIVITY

This research investigated possibility for replaced sand using polypropylene plastic in the production of Autoclaved Aerated Concrete. The ratio of plastic replaced sand is between 0, 0.50, 0.75, 1, 1.25 and 1.50 %wt. Experimental results showed that the ratio of replaced plastic increased, the compressive strength, the bulk density and the water absorption rate decreased. The Autoclaved Aerated Concrete containing plastic 1.50 %wt. had the compressive strength 13.68 N/mm.2 the bulk density 1.51 kg/dm.3 and the water absorption rate 274.98 kg/m.3 The coefficient of thermal conductivity is slightly larger than that of normal Autoclaved Aerated Concrete at the age of 28 days of incubation, considered by the industrial Standard TIS 1505-2541.The comparison of capital cost of the plastic per square meter is cheaper and economized than sand.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)