การศึกษาสมบัติเชิงกลในกระบวนการชุบแข็งของการเชื่อมเหล็กกล้า AISI 1045 ด้วยแรงเสียดทานสำหรับอุตสาหกรรมการเชื่อมเพลา

Authors

  • พุทสายัน นราพินิจ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • สมหมาย สารมาท ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • ศิริชัย ต่อสกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Keywords:

กระบวนการทางความร้อน, การเชื่อมด้วยแรงเสียดทาน, ความต้านทานแรงดึง, Heat Treatment Process, Friction welding, Tensile strength

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของกระบวนการทางความร้อนที่มีผลต่อคุณสมบัติทางกลของเหล็กกล้า AISI 1045 หลังการเชื่อมด้วยแรงเสียดทาน ทำการทดลองโดยนำวัสดุเหล็กกล้า AISI 1045 ไปผ่านกรรมวิธีอบชุบแบบ Full Annealing, Hardening, และ Hardening & Tempering ทำการเชื่อมภายใต้เวลา และแรงดันในการเชื่อมที่แตกต่างกัน ผลการทดลองพบว่าชิ้นงานที่ผ่านกรรมวิธีการอบชุบแบบ Hardening, และ Hardening & Tempering ก่อนการเชื่อมด้วยแรงเสียดทานมีค่าความต้านทานแรงดึงแตกต่างกันเพียง 6 เปอร์เซ็นต์ แต่กรรมวิธีการอบชุบแบบ Full Annealing ก่อนการเชื่อมจะทำให้ค่าความต้านทานแรงดึงของรอยเชื่อมลดลง 36 เปอร์เซ็นต์ ในส่วนของการทดสอบความแข็งบริเวณรอยเชื่อม พบว่าการนำชิ้นงานไปผ่านกรรมวิธีการอบชุบ ทั้งสามวิธีส่งผลให้ความแข็งบริเวณรอยเชื่อมสูงขึ้น 42 – 67 เปอร์เซ็นต์โดยประมาณ

 

A STUDY OF HARDENING PROCESS EFFECT ON THE AISI 1045 STEEL BY FRICTION WELDING FOR SHAFT WELDING INDUSTRIES

The purpose of this analysis is to study the effect of heat treatment process on steel AISI 1045 properties after friction welding. Steel AISI 1045 has gone through heat treatment by way of Full Annealing, Hardening, and Hardening & Tempering. It is welded under limited time and with variety of welding pressures. The test shows that heat treatment by way of Hardening and Hardening & Tempering before friction welding have only 6% difference in tensile strength. However, heat treatment by way of Full Annealing before friction welding reduces tensile strength of welded area by 36%. In testing the hardness of welded area, the 3 methods of heat treatment result in increase in hardness of welded area by 42-67% approximately.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)