การลดของเสียในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนโลหะ

Authors

  • ศุภวัชร์ เมฆบูรณ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • จีรวัฒน์ ปล้องใหม่ สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

Keywords:

การลดของเสีย, กระบวนการผลิตชิ้นส่วนโลหะ, ดัชนีวัดศักยภาพของกระบวนการในระยะยาว, ดัชนีวัดสมรรถนะของกระบวนการในระยะยาว, Reduce Defects, Metal Parts Production Process, Long Term Process Potential Capability Index, Long Term Process Performance Capability Index

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวทางการลดของเสียในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนโลหะ สำหรับผลิตภัณฑ์ขายึดเหล็กใต้ครอบ โดยได้ศึกษาสาเหตุและกำหนดวิธีการแก้ปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิตที่มีเปอร์เซ็นต์ของเสียสูง ได้แก่ ขั้นตอนตัดขาตัวยู ขั้นตอนตัดฐานตัวยู และขั้นตอนตีลายตัวยู ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่าปัญหาของเสียเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น คน เครื่องจักร อุปกรณ์ วัสดุการผลิต และวิธีปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสมต่างๆ ดังนั้นการแก้ปัญหาเพื่อลดของเสียในการครั้งนี้ได้ใช้วิธีการปรับเปลี่ยนวัสดุการผลิต การปรับปรุงวิธีการผลิต และการเพิ่มเติมเครื่องมือ อุปกรณ์สนับสนุนการผลิตเพื่อให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้สามารถลดเปอร์เซ็นต์ของเสียในกระบวนการผลิตขายึดเหล็กใต้ครอบจาก 0.66% เหลือ 0.25% สามารถเพิ่มค่าดัชนีวัดศักยภาพของกระบวนการในระยะยาว (Ppbench) จาก 0.90 เป็น 1.00 และเพิ่มค่าดัชนีวัดสมรรถนะของกระบวนการในระยะยาว (Ppkbench) จาก 0.83 เป็น 0.93

 

DEFECTS REDUCTION IN METAL PARTS PRODUCTION PROCESS

This article is aimed to methods to reduce defects in metal parts production process for Under Cover Bracket Steel Product. We have studied the cause and determined methods to solve problem of defects generated in the production process with high percentage of broken steps, including U-Leg cutting step, U-Base cutting step and U-Beat pattern step. Based on the analysis, the problem of defects due to several reasons, such as man, machine and equipment, production material and improper working methods. The solution to reduce defects in the study can be used modify of production material, improving working methods and additional tool and equipment to increase the production efficiency. From the above operations can reduce the percentage of defects in the production process of Under Cover Bracket Steel from 0.66% to 0.25%, increase long term process potential capability index (Ppbench) from 0.90 to 1.00 and increase long term process performance capability index (Ppkbench) from 0.83 to 0.93

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)