การจำลองสถานการณ์กระบวนการผลิตอาหารสัตว์ด้วยโปรแกรมเฟลกซิม กรณีศึกษาโรงงานผลิตอาหารสัตว์จังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ:
อาหารสัตว์, กระบวนการผลิต, การจำลอง, เฟลกซิมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เสนอการศึกษาและแนวทางการปรับปรุงผลิตภาพของกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ที่ทำจากต้นข้าวโพดสดของโรงงานผลิตอาหารสัตว์แห่งหนึ่งในจังหวัดสุโขทัยด้วยการจำลองสถานการณ์ทางคอมพิวเตอร์ โปรแกรมจำลอง สถานการณ์ที่ถูกนำเสนอในงานวิจัยนี้ เรียกว่า โปรแกรมเฟลกซิม ซึ่งนำมาใช้เพื่อสร้างแบบจำลองต้นแบบ โดยแบบจำลองต้นแบบถูกนำมาเปรียบเทียบกับแบบจำลองทางเลือกทั้งสิ้น 5 สถานการณ์เพื่อเพิ่มผลิตภาพ จากการวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลอง แบบจำลองต้นแบบที่ถูกออกแบบมาเพื่อจำลองสถานการณ์ กระบวนการผลิตในปัจจุบันของโรงงาน พบว่า อัตถประโยชน์การใช้งานเครื่องจักรค่อนข้างต่ำในเครื่องอัดขนาดใหญ่ ซึ่งมีอัตราการว่างงานของเครื่องจักร 75% และมีอัตราการทำงานของเครื่องจักรอยู่เพียง 25% หลังจากเพิ่มปริมาณการรับซื้อวัตถุดิบเป็น 25,000 กิโลกรัม เข้าสู่การจำลองสถานการณ์ พบว่า สถานการณ์ที่ 2 สามารถช่วยลดเวลาว่างงานของเครื่องจักรลงได้ 17.5% และสามารถเพิ่มผลผลิตได้จากเดิม 10 ชิ้นเป็น 17 ชิ้นต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 70% เมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ปัจจุบันของโรงงาน จากผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลอง สามารถสรุปได้ว่า โรงงานกรณีศึกษาไม่จำเป็นต้องเพิ่มผลิตภาพด้วยการซื้อเครื่องจักรใหม่
References
Lata P, Thongchai C, Srisawangwong P, Klangpraphan R. The operational sustainability of Pon Yang Kham livestock cooperatives. King Mongkut’s Agricultural Journal 2020;38:82-92. (In Thai)
Oae.go.th [Internet]. Thailand: Office of Agricultural Economics Online Resources; [cited 2024 Mar 10]. Available from: https://www.oae.go.th (In Thai)
Kelton D, Sadowski R, Sturrock D. Simulation with Arena. 4th ed. New York, USA: McGraw -Hill; 2007.
Mhoraksa T, Samattapapong N, Yunyao S, Wongsakul P. Simulation-based application for improving drinking water production process: a case study of the drinking water factory in Chanthaburi. RMUTL Engineering Journal 2020;5:36-42. (In Thai)
Shan H, Yuan Y, Zhang Y, Li L, Wang C. Lean, simulation and optimization: the case of steering knuckle arm production line. 2018 IEEE International Conference on Industrial Engineering and Engineering Management (IEEM); 2018 Dec 16-19; Bangkok, Thailand.
Hassan NA, Arogundade AI, Iyenagbe UB, Musa DI. Simulation and analyses of shea nuts (Vitallaria Paradoxa) processing plant using FlexSim. Journal of Future Sustainability 2023;3:67-74.
Chawla S, Singari RM. Modelling and simulation of crankcase cover manufacturing in the automobile industry. Journal of Scientific and Industrial Research 2023;82:597-602.
Wu G, Yao L, Yu S. Simulation and optimization of production line based on FlexSim. 2018 Chinese Control and Decision Conference; 2018 June 9-11; Shenyang, China.
Rostkowska M. Simulation of production lines in the education of engineers: how to choose the right software?. Management and Production Engineering Review 2014;5: 53-65.
Nurudeen AH, Muhammad ID, Dagwa I. Simulation and optimization of a process layout for dehydrated fruit and vegetables processing plant. Bayero Journal of Engineering Technology 2020;15(1):99-106.
Mackow J. Simulation as a tool supporting business decisions. Procedia Computer Science 2023;225:108-17.
Bunterngchit C. Simulation-based application in warehouse layout design for reducing material handling time. Kasem Bundit Engineering Journal 2018;8(3):1-14. (In Thai)
Prayatwong T, Thurapaeng C, Tonglim T, Pornsing C. Improvement of process layout using simulation: case study of dragon jar (Ong Mangkorn). Journal of Industrial Technology Ubon Ratchathani Rajabhat University 2021;12(2):69-81. (In Thai)
Panasri J, Sresodapol S, Koiloy W, Samattapapong N. Application of simulation program to increase efficiency melamine dish production process. Journal of Manufacturing and Management Technology (JMMT) 2022;1(1):30-8. (In Thai)
Sittipong P, Samattapapong N. An improvement of service queue by using simulation in the medical records department of the medical center at Suranaree university of technology. Thai Industrial Engineering Network Journal 2018;4(1):10-6. (In Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ห้ามนำข้อความทั้งหมดไปตีพิมพ์ซ้ำ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตแล้ว
ความรับผิดชอบ
หากบทความที่ได้รับการตีพิมพ์นั้นเป็นบทความที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นหรือมีความไม่ถูกต้องในเนื้อหาของบทความ ผู้เขียนบทความนั้นต้องเป็นผู้รับผิดชอบ