การศึกษากระบวนการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากขยะพลาสติกด้วยเครื่องปฏิกรณ์แบบหุ้มฉนวนใยเซรามิกและไม่มีฉนวนหุ้ม
คำสำคัญ:
เชื้อเพลิงเหลว, เครื่องปฏิกรณ์, ขยะพลาสติก, ไพโรไลซีส, เตาเผาขยะพลาสติกบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเขียนแบบ ปรับปรุง และสร้างเครื่องเผาขยะพลาสติก เพื่อผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยเครื่องปฏิกรณ์แบบหุ้มฉนวนใยเซรามิก และไม่มีฉนวนหุ้ม โดยใช้ระบบการให้ความร้อนด้วยแก๊สหุงต้ม LPG ซึ่งผลการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) สมบัติทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ 2) ผลของเตาปฏิกรณ์ที่หุ้มและไม่หุ้มฉนวนกันความร้อนชนิดเซรามิคไฟเบอร์ เพื่อวิเคราะห์ผลของอุณหภูมิ ปริมาณ ความหนาแน่น ค่าความร้อนที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากขยะพลาสติก พร้อมกับศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในกระบวนการผลิตเชื้อเพลิงจากขยะพลาสติก ซึ่งพบว่า สีของน้ำมันจากพลาสติกชนิด PP, LDPE และHDPE มีสีเหลือง สำหรับสีของน้ำมันจาก PS มีสีส้ม โดยที่น้ำมันเชื้อเพลิงจาก PS, PP, LDPE และ HDPE คือ
2.14, 2.19, 2.20 และ 2.21 โดยมีอุณหภูมิระหว่างการเกิดเปลวไฟ คือ 390.3, 385.6, 431.7 และ 422.9 องศาเซลเซียส ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันเชื้อเพลิงตามท้องตลาดทั่วไป พบว่า น้ำมันดีเซล ไม่สามารถจุดติดไฟได้ และ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 เกิดเปลวไฟได้สั้นที่สุด อุณหภูมิ
ไพโรไลซิสที่เกิดอัตราการให้ความร้อนเฉลี่ยที่เหมาะสมอยู่ในช่วงระหว่าง 2.75–6 °C/min ซึ่งทำให้เกิดปฏิกิริยาการสลายโครงสร้างพลาสติกได้อย่างสมบูรณ์ ผลิตภัณฑ์เกิดเป็นเชื้อเพลิงเหลวมากที่สุด ความหนาแน่นของน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ในช่วงระหว่าง 0.698–0.811 g/cm3 และสีของน้ำมันที่ได้มีค่าใกล้เคียง แต่ปริมาตรน้ำมันที่ได้ และค่าความร้อนของน้ำมันเชื้อเพลิงจากเตาที่หุ้มฉนวนด้วยเซรามิคไฟเบอร์ความหนา 1 นิ้ว นั้น มีค่าสูงกว่าเตาที่ไม่หุ้มฉนวนซึ่งปริมาณเชื้อเพลิงแก๊ส LPG ที่สูญเสียไปในการให้ความร้อนของเตาน้อยสุดเพียง 0.75 kg เท่านั้น โดยปริมาตรน้ำมันที่ได้ และค่าความร้อน จากขยะพลาสติก PS มีสูงที่สุด คือ 895 ml หรือร้อยละผลผลิตที่ได้ คือ 89.5% และ 43.67 MJ/kg ตามลำดับ ซึ่งพบว่า องค์ประกอบแบบประมาณต่าง ๆ เหล่านี้ มีค่าอยู่ในช่วงเดียวกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น กระบวนการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากขยะพลาสติก ด้วยเครื่องปฏิกรณ์แบบหุ้มฉนวนใยเซรามิก มีความเหมาะสมที่นำมาเป็นเครื่องมือในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากขยะพลาสติก เนื่องจากประหยัดพลังงานมากกว่า และได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกหรือทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงที่จำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป
References
Budsaereechai S, Hunt AJ, Ngernyen Y. Catalytic pyrolysis of plastic waste for the production of liquid fuels for engines. RSC Advances 2019;9:5844-57.
Budsaereechai S, Lanugphairojana A, Ngernyen Y. Oil productions from catalytic and non-catalytic pyrolysis of plastic packaging wastes. The 6th International Thai Institute of Chemical Engineering and Applied Science Conference; 2016 Oct 26-28; Thailand Science Park Conventional Center, Bangkok, Thailand. (In Thai)
Kumar S, Prakash R, Murugan S, Singh RK. Performance and emission analysis of blends of waste plastic oil obtained by catalytic pyrolysis of waste HDPE with diesel in a CI engine. Energy Conversion and Management 2013;74:323-31.
Kalargaris L, Tian G, Gu S. The utilisation of oils produced from plastic waste at different pyrolysis temperatures in a DI diesel engine. Energy 2017;131:179-85.
Mueanmas C, Nikhom R. Liquid fuel production from polyethylene plastic waste by pyrolysis process. Rajamangala University of Technology Srivijaya Research Journal 2022;14(2):405-17.
Charoensuk N, Sripha Y. An investigation on the effect of heat transfer in waste vegetable oil burner [Internet]. Phra Nakhon Si Ayutthaya, Thailand: Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi; 2013 [cited 2023 Oct 4]. Available from: https://research.rmutsb.ac.th/fullpaper/2556/2556239509841.pdf. (In Thai)
Department of Alternative Energy Development and Efficiency. Improving the efficiency of ceramic kilns by using insulation [Internet]. Pathum Thani, Thailand: Department of Alternative Energy Development and Efficiency; 2004 [cited 2023 Oct 4]. Available from: http://www2.dede.go.th/bhrd/old/Download/CaseStudy/Case%20Study%20022.pdf. (In Thai)
Budsaereechai S, Chanwiang W, Klongvaja T. Study and modification of the solid fuel of char pellets from cow manure. Kasem Budit Engineering Journal 2018;8(1):135-47. (In Thai)
Lhapoon C, Srisakultew P. Solid fuel of biomass and char pellets from pig and chicken manure [Bachelor of Chemical Engineering)]. KhonKaen: KhonKaen University; 2016. (In Thai)
Oasmaa A, Peacoke C. Properties and Fuel Use of Biomass Derived Fast Pyrolysis Liquids. Espoo, Finland: VTT Publication; 2010.
Thailand’s regulation high speed diesel 2013 [Internet]. 2013 [cited 2023 Oct 4]. Available from: https://www.doeb.go.th/dtanotice/cancle- diesel 25-01-56.pdf (In Thai)
Jongmee T. Reuse of disposed natural fibers as heat insulator [Master’s degree of Textile Engineering]. Bangkok: Rajamangala University of Technology Thanyaburi; 2010. (In Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ห้ามนำข้อความทั้งหมดไปตีพิมพ์ซ้ำ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตแล้ว
ความรับผิดชอบ
หากบทความที่ได้รับการตีพิมพ์นั้นเป็นบทความที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นหรือมีความไม่ถูกต้องในเนื้อหาของบทความ ผู้เขียนบทความนั้นต้องเป็นผู้รับผิดชอบ